การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน และเชิงปริมาณจำนวน 295 คน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ( = 3.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (
= 3.95) รองลงมา ได้แก่ ด้านการปฏิบัติการ (
= 3.55) ด้านการติดตามและประเมินผล (
= 3.49) และด้านการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยในระดับน้อย (
= 3.04) ตามลำดับ 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างพื้นที่ในชุมชนที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสร่วมกิจกรรมในชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชนระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และภาคีเครือข่ายถือเป็นอีกแนวทางที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนทรัพยากรและบุคลากรในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนและครอบคลุมผู้สูงอายุทุกคนในชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดนัย ลามคำ. (2563). “การมีส่วนร่วมของประชาชนและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในตำบลวังปลาป้อม อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู”. วารสารวิชาการ สคร, 26(2), 34-42.
บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ. (2565). “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารกับผู้สูงอายุกับการแพร่ระบาดของข่าวสารในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 19”. Journal of Modern Learning Development, 7(9), 157-172.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เลิศชาย หอมหวล และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(11), 211-220.
ศักดินันท์ ดวงตา. (2565). “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ”. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีวิไล.
ศิรประภา หล้าสิงห์. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันพระปกเกล้า. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2565). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
องค์การบริหารส่วนตำบลสินปุน. (2567). “ประวัติและข้อมูลสภาพทั่วไป”. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 จาก https://sinpunlocal.go.th/public/list/data/index/menu/1142
Best, J. W. (1977). “Research in education”. (3rd ed.). Krabi: Prentice-Hall.