การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรื่อง “มัคคุเทศก์ท้องถิ่นจังหวัดสงขลาเพื่อการท่องเที่ยวสายมูเตลู” สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรื่อง “มัคคุเทศก์ท้องถิ่นจังหวัดสงขลาเพื่อการท่องเที่ยวสายมูเตลู” สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรื่อง “มัคคุเทศก์ท้องถิ่นจังหวัดสงขลาเพื่อการท่องเที่ยวสายมูเตลู” สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จำนวน 4 แผน และ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประกอบด้วย รูปแบบการสอน 2 รูปแบบ คือ 1) ขั้นตอนการสอนแบบซิปปา 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิม ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มขั้นที่ 5 สรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นที่ 6 แสดงผลงาน และขั้นที่ 7 ประยุกต์ใช้ความรู้ และ 2) การสอนรูปแบบของซิมพ์ซัน 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นการเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 3 ขั้นการสนองตอบภายใต้การควบคุม ขั้นที่ 4 ขั้นการให้ลงมือกระทำจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทำได้เอง ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างชำนาญ ขั้นที่ 6 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 7 ขั้นการคิดริเริ่ม และ 2) การหาคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบว่า แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกสร สุวรรณบูรณ์. (2565). การพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานและผลการเรียนรู้วิชาเบเกอรี่เบื้องต้นโดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1. ใน รายงานการวิจัยในชั้นเรียน. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2553). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกงที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวไทย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์. (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 29 ก หน้า 27 (6 กุมภาพันธ์ 2551).
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการหาดใหญ่. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-Net) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565. ใน รายงานผลการประเมินตนเอง. วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการหาดใหญ่.
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุดมศึกษาพณิชยการ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-Net) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ปี การศึกษา 2565. ใน รายงานผลการประเมินตนเอง. วิทยาลัยเทคโนโลยีอุดมศึกษาพณิชยการ.
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-Net) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565. ใน รายงานผลการประเมินตนเอง. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2567 จาก https://bsq.vec.go.th
อธิป จันทร์สุริย์. (2563). มูเตลู: ความเชื่อกับการท่องเที่ยว. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
Kreiner, G. & Wall, G. (2015). Tourism and Religion: Spiritual Journeys and Their Consequences. New York: Springer.