แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การบริหารสถานศึกษาในพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารสถานศึกษาในพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อบริหารสถานศึกษาในพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางเทียบ หากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบมีเค้าโครง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจง มีเกณฑ์การคัดเลือก คือ 1) มีประสบการณ์ 2 ปี 2) เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหาร 2 ปี และ 3) มีความยินดีให้ข้อมูล โดยทั้ง 2 กลุ่มจะไม่ซ้ำกันวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทและสถานการณ์ พบว่า การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดระยอมีศึกษาธิการจังหวัดระยองเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองในการสนับสนุนงานด้านการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษาของจังหวัดระยอง 2) การพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารสถานศึกษาในพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จากผลการศึกษา พบว่า มี 5 ด้าน คือ การวางแผน การจัดองค์กร งานบุคลากร การอำนวยการ และการกำกับดูแล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กำพล เจริญรักษ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารครุทรรศน์, 2(1), 15-28.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. เรียกใช้เมื่อ 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://jeal.snru.ac.th/Files/Article/752-ArticleTextFile-20200328234048.pdf
ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ และมนัญญา นาคสิงห์ทอง. (2566). การศึกษาปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในพื้นที่ นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 18(2), 37-49.
ประภาภัทร นิยม และคณะ. (2563). โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัด: กรณีศึกษาจังหวัดระยองและจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาศรมศิลป์.
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนของครูโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง. วารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 40-50.
วาทินี พูลทรัพย์ และนุชนรา รัตนศิระประภา. (2564). องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(2), 65-77.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอาส. อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปราดักส์ จำกัด.
สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2562). “พ.ร.บ. เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อีกหนึ่งไม้เด็ดปฏิรูปการศึกศึกษา”. 8 ย่อหน้า. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2562 จาก มติชนสุดสัปดาห์: https://www.matichonweekly.com/column/article_165129
สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดกาญจนบุรี. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. กาญจนบุรี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี.
สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดระยอง. (2566). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง. ระยอง: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง.
สิณีณาฎ อารีย์ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2566). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(10), 125-137.
Likert, R. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Rand Mc Nally.