การสื่อสารผ่าน TikTok เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์เทศบาลเมืองทุ่งสง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ศึกษาการสื่อสารของ TikTok ที่มีเทคนิคการทำคลิปวิดีโอสั้นสามารถตอบโจทษ์การรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาประเด็นเนื้อหาการสื่อสารผ่าน TikTok เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์เทศบาลเมืองทุ่งสง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารผ่าน TikTok เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์เทศบาลเมืองทุ่งสง การวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากการให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงรวม จำนวน 5 คน ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณจำนวน 1 คน 2) หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 คน 3) นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ 3 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเด็นเนื้อหาการสื่อสารผ่าน TikTok เป็นการสร้างเนื้อหาของการสื่อสารที่สามารถเผยแพร่ภาพลักษณ์ของเทศบาลเมืองทุ่งสงให้เป็นองค์กรที่รู้จักแก่ประชาชน เนื้อหาของการสื่อสารของภาพลักษณ์ที่ปรากฏออกมาต้องเป็นภาพเชิงบวกต่อองค์กรมากที่สุด บอกถึงความต้องการ ผลการทำงาน ข่าวสาร ความรู้ และวิสัยทัศน์ ออกภายนอกที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ขององค์กรที่จะนำเสนอให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจในการทำงานและผลงานขององค์ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านการทำงานขององค์กร 3) ด้านการบริการ 4) ด้านนโยบาย และ 5) ด้านผลการทำงาน และ 2) แนวทางการสื่อสารผ่าน TikTok เป็นการสร้างการสื่อสารผ่านคลิปวิดีโอเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลที่สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ของเทศบาลเมืองทุ่งสงได้ดี ทั้งแบบเรียบง่ายและมีอารมณ์ขัน เป็นที่จดจำเข้าถึงคนได้ง่าย สร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าและน่าสนใจ ประกอบด้วย 1) การสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 2) เนื้อหาที่น่าสนใจ และ 3) การสื่อสารเพื่อการผลิตคลิปที่น่าจดจำ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กันยิกา ชอว์. (2566). การเล่าเรื่องเนื้อหาเศรษฐกิจเพื่อสร้างอัตลักษณ์แบรนด์บุคคลผ่าน TikTok. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 16(1), 258-275.
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2567). การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กรเพื่อการประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มออนไลน์เรื่องการแต่งกายสาหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารเทคโนโลยสี่อสารมวลชน มทร. พระนครม, 9(1), 133-152.
ฉัตริน อินทร์เมือง. (2565). อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ส่งสาร การวางสินค้าในงานโฆษณา และเนื้อหาเพื่อสิ่งแวดล้อมบนแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ที่มีผลต่อพฤติกรรม ตอบสนองของผู้บริโภค. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
มณี ศรีสมุทร. (2566). การสื่อสารภาพลักษณ์ ผู้นำการเมืองท้องถิ่น. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 12(1), 208-217.
ลัดดา อินต๊ะใจ. (2567). ภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยธนาคาร อาคารสงเคราะห์เขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 9(1), 1149-1161.
เอกกร มีสุข. (2566). รูปแบบการสื่อสารในการสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(6), 45-64.
Kim J. (2021). TikTok Advertising Mastery. Retrieved July 4, 2567, from https://www.kobo.com/au/en/ebook/
Miltsov A. (2022). Researching TikTok: Themes, Methods, and Future Directions. The SAGE Handbook Journal : Social Media Research Methods, 22(2), 664-676.
Parkerson A. (2022). TikTok Business Marketing. Illinois: Independently published.
Rivka N. (2024). Implementation of cyber public relation media character in building the originate brand image on TikTok social media. Multisciencejanuari Journal, 24(1), 9-14.