ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: สานต่อที่พ่อสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชุมชนเพื่อให้เกิดชุมชนคุณธรรม ชุมชนคุณธรรมวัดประดู่ คือ ชุมชนคุณธรรมที่มีความสุขความดีงาม มีสภาพ แวดล้อมที่ดีและมีความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อแบ่งปันความสุขสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยี่ยมเยือนดุจญาติมิตร เกิดจากผู้นำบวร เป็นแกนนำในการพัฒนามีจิตอาสาเป็นพลังสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน โดยยึดหลักคุณธรรมร่วมชุมชนท้องถิ่น ในหลักคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ผ่านกิจกรรมกลุ่ม และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวชุมชนวัดสุนทรนิวาส ซึ่งกิจกรรม นั้นจะสะท้อนถึงการส่งเสริมคุณธรรม 5 ประการ ภายใต้นโยบายปฏิรูปด้านคุณธรรม ประกอบด้วย 1) พอเพียง พอประมาณ ในอาชีพ พัฒนาต่อยอดด้วยการยกระดับ สินค้า ใช้ความรู้ในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความพอประมาณพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง 2) วินัย ยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ทั้งวินัยต่อตนเอง วินัยต่อองค์กร สังคม และเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง 3) สุจริต มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น ยืนหลักในการรักษาความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมทั้งปวง 4) จิตอาสา เป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะ และอาสาลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิใช่หน้าที่ของตนเอง ด้วยความรัก ความสามัคคี เพื่อประโยชน์ ของสังคมประเทศชาติ โดยมิได้หวังผลตอบแทน ทำจนเป็นนิสัย 5) กตัญญูรู้คุณ แสดงออกถึงการรู้คุณค่าของบรรพชน บุพการี ประเทศชาติบ้านเมือง และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างให้เกิดเป็นต่อการดำเนินชีวิตร่วมกันในทุกเพศ วัย ศาสนา อาชีพ และสภาพแวดล้อมที่ดีงาม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบล็อก.
เกษม วัฒนชัย. (2559). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง: แล้วเราจะเอาหลักไหนไปสู้ชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2560 ). วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
บุญเสริม บุญเจริญผล. (2558). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกริก, 2(4), 13-24.
ประเวศ วะสี. (2557). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2556). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2556). ประชาคมตําบล: หมายเหตุจากนักคิด สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร.
ยุงจิรายุ อุปเสน. (2557). การสร้างเป้าหมายตัวชี้วัดความสุขชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิหัวใจอาสา.
ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). ชุมชนคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้ง พับลิสซิ่ง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2560-2570). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ประสานงานกลาง การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2566). โครงการชุมชนคุณธรรมต้นแบบ. สุราษฎร์ธานี: ฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2550). แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้น สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง: จากแนวปฏิบัติสู่แนวคิดทาง ทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิวิธีสุข.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554). การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อาชว์ เตาลานนท์. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Road to Sustainable Economy. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เม็ดทรายพริ้นติ้ง.