ทุนทางจิตวิทยา ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และภาวะหมดไฟในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในสังกัดสถานีตำรวจนครบา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และภาวะหมดไฟในการทำงาน ศึกษาอิทธิพลของทุนจิตวิทยาต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน อิทธิพลของความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน และอิทธิพลของความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจนครบาล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล จำนวน 735 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งแบบสอบถาม 10 ชุดต่อหนึ่งสถานี รวม 88 สถานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ PLS-SEM ผลการประเมินความคลาดเคลื่อนของตัวแบบประมาณค่าแสดงให้เห็นว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และภาวะหมดไฟในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดสอบสมมติฐาน ยอมรับบางส่วนว่า ทุนทางจิตวิทยามีอิทธิพลทางตรงเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน ยอมรับว่า ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน และยอมรับว่า ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อภาวะหมดไฟ ดังนั้น ผู้บริหารควรส่งเสริมให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดทุนทางจิตวิทยา ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และภาวะหมดไฟในการทำงาน และหาแนวทางการแทรกแซงภาวะหมดไฟในการทำงาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฐิติรัตน์ ตันไพศาล และรัตติกรณ์ จงวิศาล. (2566). ทุนทางจิตวิทยา ความยึดมั่นผูกพันในงาน และภาวะหมด ไฟในการทํางานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 16(2), 1-15.
เดลินิวส์ออนไลน์. (2566). เปิดสถิติย้อนหลัง 5 ปี ตร. ตบเท้าลาออก มากกว่าตัวเลขมีเหตุผลที่แท้จริงซ่อนอยู่. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://www.dailynews.co.th/news/2764078/
บล็อกตำรวจไทย. (2562). ลาออกเกือบพัน !! เพราะเหตุใด. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://thaicop.blogspot.com/2019/09/blog-post.html
สัณหวัช อุดมเจริญศิลป์. (2564). อิทธิพลเชิงสาเหตุของความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์กรที่มีต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัยและความเหนื่อยหน่ายในงานของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Avey, J. B. et al. (2011). Meta-analysis of the impact of positive psychological capital on employee attitudes, behaviors and performance. Human Resource Development Quarterly, 22(2), 127-152.
Babakus, E. et al. (2010). Service worker burnout and turnover intentions: Roles of person-fob fit, servant leadership, and customer orientation. Services Marketing Quarterly, 32(1), 17-31.
Bakker, A. B. et al. (2014). Burnout and work engagement: The JD–R approach. Annual Review of Organizational Psychology and Organizational Behavior, 1(1), 389-411.
Bitmiş M. G. & Ergeneli A. (2015). How psychological capital influences burnout: The mediating role of job insecurity. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 207(2015), 363-368.
Cable, D. M. & DeRue, D. S. (2002). The convergent and discriminant validity of subjective fit perceptions. Journal of Applied Psychology, 87(5), 875-884.
Correia, I. et al. (2023). Protecting police officers against burnout: Overcoming a fragmented research field. Journal of police and criminal psychology, 38(2023), 622-638.
Demir, S. (2018). The relationship between psychological capital and stress, anxiety, burnout, job satisfaction, and job involvement. Eurasian Journal of Educational Research, 75(2018), 137-154.
Edwards, J. R. (1991). Person-job fit: A conceptual integration, literature review, and methodological critique. In C. L. Cooper & I. T. Robertson (Eds.), International review of industrial and organizational psychology. New York: Wiley.
Goodman, S. A. & Svyantek, D. J. (1999). Person-organization fit and contextual performance: Do shared values matter. Journal of Vocational Behavior, 55(2), 254-275.
Kilroy, S. et al. (2016). Perceptions of high involvement work practices, person-organization fit and burnout: A time lagged study of health care employees. Human Resource Management, 56(5), 821-835.
López-Núñez, M. I. et al. (2020). Psychological capital, workload, and burnout: What’s new? The impact of personal accomplishment to promote sustainable working conditions. Sustainability, 12(2020), 8124.
Luthans, F. et al. (2007). Psychological capital: Developing the human competitive edge. Oxford: Oxford University Press.
Maslach, C. et al. (1997). Maslach Burnout Inventory: Third edition. In C. P. Zalaquett & R. J. Wood (Eds.), Evaluating stress: A book of resources. Lanham: MD: Scarecrow Education.
O’Reilly, C. A. & Chatman, J. (1986). Organization commitment and psychological attachment: The effects of compliance, identification and internalization on prosocial behavior. Journal of Applied Psychology, 71(3), 492-499.
Rajper, Z. A. et al. (2019). Linking person job fit to employee job performance amid employees of services sector: The role of burnout as mediator. Journal of Social and Administrative Sciences, 6(4), 188-199.
Vancouver, J. B. et al. (1994). Multilevel analysis of organizational goal congruence. Journal of Applied Psychology, 79(5), 666-679.
Zang, L. & Chen, Y. (2022). Relationship between person-organization fit and teacher burnout in kindergarten: The mediating role of job satisfaction. Frontiers Psychiatry, 13(2022), 1-8.