แนวทางการบริหารงานวิชาการแนวใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการแนวใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการ จำนวน 128 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี และมอร์แกน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการแนวใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีผลงานยอดเยี่ยม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบแนวทางการบริหารงานวิชาการแนวใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.83, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน สรุปได้ว่า ด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการแนวใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ วิเคราะห์บริบทของโรงเรียน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ และวางแผน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยลงมือปฏิบัติตามพันธกิจ เป้าประสงค์ ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ (PDCA) มีการเสริมแรงทางบวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน ติดตาม ตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อบกพร่องเพื่อนำไปพัฒนา และแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น นำผลการปฏิบัติงาน เป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายมาพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ตามมาตรฐานการจัดการศึกษา นำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้ในการบริหารงานวิชาการให้เกิดประสิทธิผล และใช้เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการวัดและประเมินผลงานวิชาการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2022. เรียกใช้เมื่อ 6 ธันวาคม 2566 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/
ฐาปนันท์ กันยา และพรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ. (2558). “การบริหารงานวิชาการและประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3”. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 101-110.
ประภัสรา โคตะขุน. (2554). Active Learning คืออะไร. เรียกใช้เมื่อ 21 กรกฎาคม 2554 จาก http://prapasara.blogspot.com/2011/09/active-learning.html
พระมหาปริญญา เตชปญฺโญ (ปราบชมพู). (2556). การบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ระเบียบ วิเศษรัมย์. (2556). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมบัวคำ ชุมจันทร์. (2555). ปัญหา แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2546). แนวดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์. (2553). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cronbach, L. J. (1997). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Minudin, O. B. (1987). The role of the secondary school principals as perceived by secondary school principals in Sadas Malaysi. Dissertation International Abstracts, 47(7), 2403-A.