แนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อเสริมศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อเสริมศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน แบ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก 7 คน การสนทนากลุ่ม 5 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง โดยมีเกณฑ์การเลือกกลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่ด้านการจัดการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยว ผู้ประสบการณ์การจัดการท่องเที่ยวอย่างน้อย 3 ปี และยินดีให้ข้อมูลตลอดการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และตรวจสอบคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาด้านศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเมืองเก่าที่เข้มแข็งด้วยคนในชุมชนเมืองเก่ามีความเข้มแข็งในการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตเพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อเสริมศักยภาพ การจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ พบว่า ข้อเสนอแนะเพื่อจัดการสู่ความยั่งยืน ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ด้วยวิธีการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีการคัดเลือกแกนนำชุมชนและมีการจัดประชุมอยู่เป็นประจำ การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมการให้ความรู้แก่คนในพื้นที่รวมถึงคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และความต้องการของคนในชุมชนเป็นอันดับแรก การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือผ่านการออกไปให้ความรู้ยังพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ รวมถึงรับความรู้จากพื้นที่อื่นมาปรับใช้ และการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนผ่านการเรียนรู้ และส่งเสริมการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างสม่ำเสมอ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ.
กิจอุดม เสือเจริญ และรัชยา ภักดีจิตต์. (2562). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(3), 223-250.
จักรพงษ์ บุณยัษเฐียร. (2566). ความเป็นมาของ “ชิโน-โปรตุกิส” เอกลักษณ์แห่งเคหสถานร่วมสมัยของภูเก็ต. เรียกใช้เมื่อ 26 สิงหาคม 2566 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_9384
เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร และคณะ. (2563). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวในเขตอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (สถาปัตยกรรม) เมืองเก่าลำพูน แพร่ น่าน. วารสารมนุษย์ สังคมศาสตร์, 37(2), 38-63.
นิธิกิตติกานต์ เหมสุวรรณ์ และสันติธร ภูริภักดี. (2565). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองเก่าสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 14(2), 457-473.
พระครูโสภรณรัตนบัณฑิต และคณะ. (2567). การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์บริเวณเมืองเก่าในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(1), 300-310.
พาฝัน นิลสวัสดิ์ ดูฮาเมลน์. (2563). การพัฒนาศักยภาพมรดกทางประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าสงขลาเพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปแบบของการท่องเที่ยวเมืองเก่า. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(2), 52-64.
สกาวรัตน์ บุญวรรโณ และคณะ. (2563). ย้อนอดีต มองปัจจุบัน กำหนดอนาคต: ทิศทางการจัดการท่องเที่ยวเมืองเก่าตะกั่วป่าผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(2), 127-140.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต (พ.ศ. 2566 - 2570). ภูเก็ต: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
Ruiz-Ballesteros, E. (2011). Social-ecological resilience and community-based tourism: An approach from Agua Blanca, Ecuador. Tourism Management, 32(2011), 655-666.
Spenceley, A. (2008). Local impacts of community-based tourism in Southern Africa. In A. Spenceley (Ed.), Responsible tourism: Critical issues for conservation and development. London: Earthscan.
Stone, L. & Stone, T. (2011). Community- based tourism enterprises: Challenges and prospects for community participation; Khama Rhino Sanctuary Trust, Botswana. Journal of Sustainable Tourism, 19(1), 97-114.