การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พระปลัดสมนึก อมรธมฺโม (ผอมกลัด)
เนติลักษณ์ สุทธิรักษ์

บทคัดย่อ

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารส่วนท้องถิ่นไว้ในมาตรา 249 ภายใต้บังคับมาตรา 1 ประกอบกับ มาตรา 250 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น การใช้หลักธรรมเพื่อการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการ เพื่อให้ชุมชนเกิดกระบวนการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการชุมชนและระดับหลักสาราณียธรรม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการบริหารจัดการชุมชน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ศึกษาประชากร จำนวน 373 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ข้าราชการ และผู้นำชุมชน รวมจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ ได้ค่าความเชื่อมั่น แบบสอบถามเท่ากับ 0.987 และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารชุมชนเข้มแข็ง โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ 2) การประยุกต์หลักสาราณียธรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) หลักสาราณียธรรมกับการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็ง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง R = .859** 4) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการบริหารชุมชน มีทัศนคติที่ดี รู้จักแบ่งปัน ใช้ชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

How to Cite
(ผอมกลัด) พ. อ. ., & สุทธิรักษ์ เ. . (2024). การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(11), 11–21. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/280820
บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ. (2566). ตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 22 กันยายน 2566 จาก http://www.khuansuban.go.th/news/detail/116750/data.html

พระครูธีรธรรมพิมล. (27 เมษายน 2567). การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (พระสมนึก อมรธมฺโม. (ผอมกลัด), ผู้สัมภาษณ์)

พระครูศีลธรรมโสภิต. (5 พฤษภาคม 2567). การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (พระสมนึก อมรธมฺโม. (ผอมกลัด), ผู้สัมภาษณ์)

พระปลัดบุญมี คุณากโร. (2563). การศึกษาวิเคราะห์การใช้หลักสาราณียธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของชุมชนเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(4), 132-143.

พระมหาสุริยะ มทฺทโว (มาธรรม). (2565). การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลดารัตน์ แซ่โซว. (1 พฤษภาคม 2567). การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (พระสมนึก อมรธมฺโม. (ผอมกลัด), ผู้สัมภาษณ์)

วสิษฐ์พล กูลพรม. (2562). การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมควร มากบุญ. (30 เมษายน 2567). การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลควน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (พระสมนึก อมรธมฺโม. (ผอมกลัด), ผู้สัมภาษณ์)

อภิชิต ดวงธิสาร. (2560). การจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 83-93.

Brown, W.B. & Moberg. D.J. (1980). Organization theory and management. New York: John Wiley and Sons.