ความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีของผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises; SMEs) ในเขตจังหวัดชลบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการ ได้แก่ ประเภทนิติบุคคล ประเภทการประกอบกิจการ ทุนจดทะเบียน และระยะเวลาการประกอบธุรกิจ กับระดับความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีของผู้ประกอบการ SMEs โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 350 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากจำนวนผู้ประกอบในพื้นที่ทั้งหมด 2,174 ราย สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์และแปลผล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบความสัมพันธ์ ได้แก่ F-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำนวน 164 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 46.85 ประเภท การประกอบกิจการส่วนใหญ่เป็นกิจการให้บริการ มีจำนวน 240 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 68.60 มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 1 ล้านบาท จำนวน 348 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.40 และผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีระยะเวลาประกอบกิจการน้อยกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 89.14 มีระดับความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.23, S.D. = 0.72) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของธุรกิจกับระดับความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีของธุรกิจ SMEs พบว่า 1) ประเภทนิติบุคคล มีระดับความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีแตกต่างกัน 2) ประเภทการประกอบกิจการมีระดับความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีไม่แตกต่างกัน 3) ทุนจดทะเบียนของธุรกิจ มีระดับความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีแตกต่างกัน 4) ระยะเวลาในการประกอบธุรกิจ มีระดับความรู้ความเข้าใจการเสียภาษีแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปิยะฉัตร จันทรวุฒิ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการเสียภาษีของผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พรรณชญาน์ ศิลประเสริฐ. (2560). ความรู้ความเข้าใจในการชำระภาษีท้องถิ่นของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตเทศบาลตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วลัยพร แก้วสาร. (2562). ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษาผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตสานักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วันทิสา ประทุม. (2564). การศึกษาแนวทางเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภัชชา สิริสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการเสียภาษีของผู้ประกอบการ SMEs ประเภทกิจการค้าปลีกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Cozby, P. C. & Bates, S. C. (2018). Methods in behavioral research (13th ed.). America: California McGraw-Hill Education.
Creswell, J. W. (2014). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches (4th ed.). America: California Sage Publications.
Jeni, S. & Askandar, N. S. (2019). Why is tax knowledge and tax understanding important. Jurnal Ilmiah Bidang Akuntansi dan Manajemen, 16(2), 133-146.
K-Bank. (2024). SME และธุรกิจ: SME คืออะไร มีกี่ประเภท. Retrieved มกราคม 4, 2567, from https://www.kasikornbank.com/th/kbiz/article/pages/guide-for-sme-business-and-how-it-works.aspx
Nnam, A. et al. (2022). Taxation Practices and the Survival of Small and Medium-Sized Enterprises (SMEs). Universal Journal of Accounting and Finance, 10(2), 123-135.
Rosalita, A. et al. (2022). Determinants of tax attitude in small and medium enterprises: Evidence from Indonesia. Cogent Business & Management, 9(1), 123-135.
Sizka, R. et al. (2021). The effect of tax fairness, tax socialization, and tax understanding on tax compliance: A study on micro, small and medium enterprises (MSMEs). Journal of Applied Accounting and Business, https://doi.org/10.24198/JAAB.V4I1.31998.
Thaha, A. et al. (2023). Analytical review of tax compliance studies in the SMEs sector: A bibliometric approach. Journal of Tax Reform, 9(3), 398-412.