แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาแม่สวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2

Main Article Content

นลธวัช ยุทธวงศ์
สิริกร ชุ่มเชย
เสาวนีย์ พลับพลึงพนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาแม่สวด ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาแม่สวด ปีการศึกษา 2565 จำนวน 141 คน แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาแม่สวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 โดยรวมและรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน มีระดับสภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (m = 4.04, s = 0.79) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรและการสอน อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาครู และด้านมาตรฐานและการประเมินผล ตามลำดับและพบปัญหาว่ายังไม่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย หลักสูตรสถานศึกษายังไม่สามารถตอบสนองความตองการของผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ครูไม่มีโอกาสได้ร่วมกันอภิปรายหลังจากเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยีการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอ แนวทางพัฒนา คือ ควรสร้างสมดุลในมาตรฐานและการประเมินผลในเชิงคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการวัดและประเมินผล ควรส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความเข้าใจแก่ครูในโรงเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และควรมีการจัดหาสื่อ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้

Article Details

How to Cite
ยุทธวงศ์ น. ., ชุ่มเชย ส. ., & พลับพลึงพนา เ. . (2024). แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาแม่สวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(10), 39–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/280718
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานาคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐชลิดา ประกิ่ง. (2561). สภาพ ปัญหา และแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พงษ์ลิขิต เพชรผล. (2560). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาสุนทร ณฎฐภูมิ จงไกรจักร. (2560). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง.

ลำพึง ศรีมีชัย. (2560). การพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ: รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study). นครปฐม: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2558ก). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานาคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิจารณ์ พานิช. (2558ข). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานาคร: มูลนิธิสดศรีสกฤษดิ์วงศ์.

สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต และคณะ. (2560). การศึกษาสมรรถนะการจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุริยาพร นพกรเศรษฐกุล. (2561). ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉรา เขื่อนวิเศษ. (2561). การบริหารจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการ ศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.