การพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย “โรงเรียนไฉไล ปลอดภัย มีคุณภาพ” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

Main Article Content

สนธยา หลักทอง
รังสรรค์ มนดาล
สุภาพ ช่างสอน
สิงห์ประเสริฐ นาคโคตรคำ
พลชัย ชุมปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย และศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย “โรงเรียนไฉไล ปลอดภัย มีคุณภาพ” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการนิเทศฯ คู่มือฯ และแอปพลิเคชัน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และการศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศฯ เป้าหมายเป็นโรงเรียนในสังกัด จำนวน 243 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการ จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แนวทางการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กรอบการดำเนินการ 4) กลไกและระบบสนับสนุน 5) กระบวนการ ได้แก่ การวางแผน การประชุมชี้แจง การดำเนินการตามแผน การรายงานผล และการนำผลไปใช้ และ 6) การวัดและประเมินผล ส่วนผลการใช้รูปแบบ พบว่า ผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับดีเด่น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโอกาสทางการศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียน และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ และผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบฯ คู่มือฯ และแอปพลิเคชัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
หลักทอง ส. ., มนดาล ร. ., ช่างสอน ส. ., นาคโคตรคำ ส. ., & ชุมปัญญา พ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย “โรงเรียนไฉไล ปลอดภัย มีคุณภาพ” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 163–174. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/279779
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2566). รายงานผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 2.

จิระภา ธรรมนำศีล. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการนิเทศการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาครีย์ คะนอง. (2559). การพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ด้านทักษะการคิดขั้นสูงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์แนวคิดการประเมินแบบแผนที่ผลลัพธ์. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 195-207.

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ และบุญชม ศรีสะอาด. (2563). รูปแบบการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 422-437.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประวิต เอราวรรณ์. (2560). ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบเพื่อคนทั้งมวล Education Reform for All. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), 57-70.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก 1-90. (6 เมษายน 2560)

วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์. (2564). รูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน “วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ”. ใน รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 1-16.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 - 2570. สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.

Esther, K. et al. (2017). Balancing Relations and Results in Regional Networks of Public-Policy Implementation. Journal of Public Administration Research and Theory, 27(4), 676-691.

Pamela, A. M. (2007). Intraorganizational Implementation Research: Theory and Method. Journal of Public Administration Research and Theory, 17(4), 553-566.