การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) วิเคราะห์การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบล ในจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสุขภาพกาย และด้านจิตใจ ตามลำดับ 2) การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการร่วมในการประเมินผล เกษตรกรรมยั่งยืน การร่วมปฏิบัติการ ระบบสุขภาพชุมชน สิ่งเสพติดและอบายมุข และสวัสดิการชุมชน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง มีการจัดอบรม การจัดกิจกรรม ที่สามารถส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). ประกาศจำนวนประชากร ปี 2566-2542. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2566 จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_65.pdf.
จรัสศรี จบไพร และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(4), 2091-2103.
เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวติของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,9(3), 94-105.
ชุติเดช เจียนดอน และคณะ. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 229-239.
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต: concepts of quality of life. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 49(2), 171-184.
พิรุฬห์ ศิริทองคำ. (2561). รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับท้องถิ่น ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วสันต์ จันทรจร และสิทธิชัย ตันศรีสกุล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรัณยู เย็นผาสุก และรุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สนุพงษ์ จิรชวาลวิสุทธิ์. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน ค่ายภาณุรังสี จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). เรียกใช้เมื่อ 19 มีนาคม 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. (2565). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2565-2569. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2566 จาก http://www.phetchabunhealth.go.th/webph2021/wpcontent/uploads/2022/08/4.2.15-เล่มเอกสาร-แผน-ระยะ-5-ปี-2565-2569-สสจ-เพชรบูรณ์.pdf.
อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์ และพัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2562). แนวทางการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(1), 119-128.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Miles, M. B. & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.