การนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไปปฏิบัติและภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

สมศักดิ์ ยศพยุงศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อวิเคราะห์การนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไปปฏิบัติและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่มีสิทธิเลือกตั้ง มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การสนับสนุนนโยบาย แหล่งที่มาของนโยบาย สิ่งจูงใจสำหรับผู้ปฏิบัติ ความซับซ้อนในการบริหารงาน การจัดสรรทรัพยากร และความชัดเจนของนโยบาย ตามลำดับ 2) การนำนโยบายสาธารณะคุณภาพชีวิตของประชาชนไปปฏิบัติและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการสนับสนุนนโยบาย การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การจัดสรรทรัพยากร และความชัดเจนของนโยบาย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริม สนับสนุนนโยบายให้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง นโยบายมีความชัดเจน นโยบายนั้นอยู่ในขอบเขตของทรัพยากรที่เหมาะสม สนับสนุนผู้นำที่มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน

Article Details

How to Cite
ยศพยุงศักดิ์ ส. (2024). การนำนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไปปฏิบัติและภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(7), 257–269. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/279552
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ฉบับทบทวนรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สมุทรปราการ: กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2566). ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคของผู้สูงอายุไปปฏิบัติในจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 11(3), 260-269.

นุช สัทธาฉัตรมงคล และอรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2559). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 167-182.

พงษ์ภัทร์ รัตนสุวรรณ. (2550). การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 55 ก หน้า 5 (15 กันยายน 2550).

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วศิน ปั้นทอง และคณะ. (2566). นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคต ที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม. เชียงใหม่: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรายุทธ คชพงศ์ และคณะ. (2564). การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 274-288.

สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ และคณะ. (2565). ประสิทธิผลการดําเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อนโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตประชาชนในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 164-177.

สำนักงานงบประมาณ. (2562). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.bb.go.th/topic-detail.php?id=8930&mid=708&catID=0

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). เอกสารประกอบ แผนการบริหารราชหารแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558. เรียกใช้เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5063

สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). ประกาศจำนวนประชากรปี 2566-2542. เรียกใช้เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_65.pdf

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2567). ข่าวนายกรัฐมนตรี: นายกฯ ย้ำ รัฐบาลมุ่งให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มุ่งแก้ไขปัญหาสังคม ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/77367

สิริกัญญา เทิดสุเรนทร์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปเขตบริการสุขภาพที่ 4 และ 5. วารสารวิชาการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เขต 4, 17(1), 32-38.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper & Row Ltd.