แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาชายแดน ไทย - เมียนมาร์ อำเภออุ้มผาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอำเภออุ้มผาง 2) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อำเภออุ้มผาง 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อำเภออุ้มผาง เป็นวิจัยแบบการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม กับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แหล่งข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 150 คน ด้วยวิธีการเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านการกำหนดทิศทางหรือกลยุทธ์ ( = 4.41, S.D. = 0.58) มีการปฏิบัติสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยระดับมาก รองลงมา ด้านการดำเนินงานตามระบบ (
= 4.39, S.D. = 0.56) มีค่าเฉลี่ยระดับมาก และด้านการตรวจสอบและประเมินผล (
= 4.36, S.D. = 0.55) มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ด้านการวางระบบและแผนดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก (
= 4.31, S.D. = 0.47) ตามลำดับ 2) ปัญหาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการส่งเสริม ปัญหาระบบข้อมูลการสื่อสาร การจัดทำระเบียนสะสมของนักเรียนยังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน การปรึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการกับเครือข่ายครู 3) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถานศึกษาควรมีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงาน มีการตรวจสอบข้อมูลการติดต่อสื่อสารให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน จัดเก็บข้อมูลในระเบียนสะสมอย่างเป็นระบบ และมีการส่งเสริม นิเทศ กำกับ ติดตาม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิตราพร สุทธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐนียา ห้องกระจก. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจร คุณภาพ PDCA ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
เทอดศักดิ์ ยะยอง. (2562). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง. ใน สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
นพมาศ สุขอุดม. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 9 (19 สิงหาคม 2542).
ฟองจันทร์ กลิ่นสุคนธ์. (2563). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
รัชพล เที่ยงดี. (2563). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 14 (6 เมษายน 2560).
ลภัสรดา เกตุสกุล. (2565). การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ. นครอุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ใน คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบดูแลการช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2564. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 73-81.
สมพร สุทัศนีย์. (2554). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.