การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ภาพลักษณ์ และทัศนคติต่อกรมชลประทานของเกษตรกร

Main Article Content

จิระประภา นิมานะ
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี

บทคัดย่อ

การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ภาพลักษณ์ และทัศนคติต่อกรมชลประทานของเกษตรมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ภาพลักษณ์ และทัศนคติที่มีต่อกรมชลประทาน 2) ความแตกต่างในการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์จำแนกตามลักษณะประชากร 3) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์กรมชลประทาน 4) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กับทัศนคติ และ 5) ความสัมพันธ์ของการรับรู้ภาพลักษณ์กรมชลประทาน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรอายุ 18-65 ปี ที่เคยเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์กรมชลประทาน จำนวน 400 คน จากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะทางประชากรด้านเพศและภูมิภาค ที่แตกต่างกันมีผลต่อการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 46-55 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท 2) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ภาพลักษณ์กรมชลประทาน 3) การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติ 4) การรับรู้ภาพลักษณ์กรมชลประทานมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ สามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึง และมีการรับรู้ภาพลักษณ์หน่วยงาน ของกลุ่มเกษตรกร พร้อมสร้างทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน นอกจากนี้ ควรมีการวิจัย ถึงผลการประชาสัมพันธ์ของการโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยศึกษาวิจัย ในแต่ละโครงการ แบบเชิงลึก เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่นำไปพัฒนางานต่อไป

Article Details

How to Cite
นิมานะ จ. ., & วิจิตรจามรี ณ. (2024). การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ภาพลักษณ์ และทัศนคติต่อกรมชลประทานของเกษตรกร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(7), 90–97. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/278675
บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2560). ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน.

กรมชลประทาน. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน.

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ไทยเจริญการพิมพ์.

ปรัชญาวรรณ จันทะขาน. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้บริการสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พนิดา กิตติธำรงกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้กลยุทธ์กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ฉบับเสริม ครบรอบ 12 ปี, 136-150.

พรรณอร กลิ่นศรีสุข. (2560). ภาพลักษณ์และช่องทางการสื่อสารของกรมประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

พลอยทิพย์ ศรีศักดิ์ดา. (2564). ปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน วาย ที่ปฏิบัติงานในองค์กรเอกชนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสื่อสารองค์กร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5 th ed). New York: Harper Collins.

Kotler, P. (2000). Marketing management: The millennium edition. New Jersey: Prentice Hall UpperSaddle River.