การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี SCROL ร่วมกับผังกราฟิก เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจ โดยใช้กลวิธี SCROL ร่วมกับผังกราฟิก หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อศึกษา เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม และใช้ห้องเรียนเป็น หน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี SCROL ร่วมกับผังกราฟิกของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 แผน 2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) แบบ One Sample Test ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถ ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนรู้โดยใช้กลวิธี SCROL ร่วมกับผังกราฟิกหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 80.89 สูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตามระดับความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจทั้ง 3 ระดับ ระดับที่มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ระดับตีความเท่ากับ 85.00 รองลงมา คือ ระดับประยุกต์กับความรู้เดิมเท่ากับ 79.72 และระดับที่มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ระดับความเข้าใจในระดับตัวอักษรเท่ากับ 77.77 2) เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
ชาญณรงค์ บุญหลักคำ. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี SCROL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
นันทิยา ประจันทร์เสน. (2561). ผลการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจราชรังสฤษฎิ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์ จำกัด.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์. (2562). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. นครศรีธรรมราช: โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์.
สมจิตรา เรืองศรี. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการศึกษา (Educational Research Methodology). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Grant, R. (1993). Strategic Training for Using Text Heading to Improve Students. Journal of Reading, 36(6), 482-488.
Moghaddam. (2014). Effect of Text Reading on High School Female Students’ Reading Comprehension. North Cyprus: Eastern Mediterranean University Gazimagusa.