การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนไทยสามารถสูง สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กรวรรณ สืบสม
นพรัตน์ หมีพลัด
ณัฏฐ์พัชร นิลวงศ์
อภินันท์ อามีเร้าะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาบริบท ความเป็นมาและสภาพปัญหาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับครูและนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 3) ประเมินสมรรถนะของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 176 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนไทยสามารถสูง แบบประเมินสมรรถนะด้านการคิดและแบบประเมินสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี แต่ละชุดมีข้อคำถาม จำนวน 10 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินอยู่ที่ระดับ 0.847 และ 0.853 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ส่วนใหญ่จะขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และขาดแคลนสื่อการสอน ทำให้นักเรียนไม่ค่อยมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ 2) ด้านการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 67.24 (gif.latex?\bar{x} = 4.57, S.D. = .714) และ 3) ผลการประเมินสมรรถนะด้านการคิดและด้านการใช้เทคโนโลยี พบว่า ร้อยละ 50.6 (gif.latex?\bar{x} = 3.75, S.D. = 1.43) คิดว่าสามารถทำได้ดีในด้านการคิด ขณะที่ร้อยละ 52.8 (gif.latex?\bar{x} = 3.27, S.D. = 1.49) ไม่มีความมั่นใจในทักษะการคิด สำหรับผลการประเมินสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี พบว่า นักเรียน ร้อยละ 39.8 (gif.latex?\bar{x} = 3.67, S.D. = 1.23) สามารถทำได้ดีในการใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้น ขณะที่นักเรียนร้อยละ 33.98 (gif.latex?\bar{x} = 3.23, S.D. = 1.26) ไม่มีความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยี

Article Details

How to Cite
สืบสม ก. ., หมีพลัด น. ., นิลวงศ์ ณ. ., & อามีเร้าะ อ. . (2024). การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนไทยสามารถสูง สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(7), 59–69. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/278464
บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ บุญแรง. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 11(3), 105-117.

กิตติภัค วรชินา และคณะ. (2566). การพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้ออนไลน์วิชาดนตรีโดยใช้เทคนิคของโคดายุร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 3(1), 53-70.

ณิชชยาวรรณ พันธ์ศุภะ และกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2566). Future Skill “ทักษะแห่งอนาคต: พัฒนาคุณภาพผู้เรียนหลังยุคโควิด. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 66 (2),17-33.

ดรุณี ปัญจรัตนากร และคณะ. (2566). การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลโรงเรียนสมัยใหม่โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา. คุรุสภาวิทยาจารย์ Journal of Teacher Professional Development, 4(1), 87-104.

ปัณฑ์ชณิช เพ่งผล และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2565). การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(2), 106-117.

ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และสิทธิกร สุมาลี. (2561). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 44-60.

ยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2562). ไร้เส้นกั้นการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีและการถอดบทเรียนจากการจัดการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2567 จาก https://www.unicef.org/thailand/media/3701/file

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป (Essential professional competencies required of graduates from the department of general management, Faculty of Business Administration). Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts), 38(6), 136-154.

สมฤดี ตราชู และคณะ. (2561). ปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 1-8.

สุชา อยู่อ่อน และอังคณา อ่อนธานี. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน SQ4R ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(3), 57-70.

เอกพล ดวงศรี และออม ฮยอนจู. (2564). เคมู้ก: แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัลของเกาหลีใต้ (K-Mooc: Lifelong Learning Platform in Korean Digital Era. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Journal of Education), 5(2), 40-53.