การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) การเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา จำนวน 302 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และ .93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในระดับปานกลาง (r = .46) และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อการเป็นองค์กรดิจิทัล โดยมีอำนาจร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 20.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชลณพรรธษ์ ศรีเริงหล้า. (2560). ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วิระ บุตรฤทธิ์. (2566). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ในยุควิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์ และนิสรา ใจซื่อ. (2562). การขับเคลื่อนองค์การดิจิทัลเพื่อก้าวสู่การพัฒนาประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(3), 78-91.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. สมุทรปราการ: ฝ่ายนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายปีงบประมาณ 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ ได้รับจัดสรร). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุภมาส อังสุโชติ และชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2554). หน่วยที่ 11 ในประมวลสาระ ชุดวิชาการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Eka, J. & Kai, P. (2018). The model of self-organization in digitally enhanced Schools. Interaction Design and Architecture(s) Journal-IxD&A, 31(4), 61-77.
Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Swansburg, R. C. (1996). Management and Leadership for Nurse Managers. Boston: Jones and Barticn.