การจัดการความรู้กับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานการเคหะแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การจัดการความรู้กับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ โดยผลการศึกษาเป็นข้อมูลที่ผู้บริหารสามารถนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนางาน ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และเป็นข้อมูล การขยายขอบเขตองค์ความรู้ในเรื่องการจัดการความรู้ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษาดังกล่าว เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการเคหะแห่งชาติ เพิ่มขีดความสามารถและสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในหน่วยงาน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือน มกราคม 2567 ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 325 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า พนักงานการเคหะแห่งชาติมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์การจัดการความรู้กับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ภาพรวม พบว่า การจัดการความรู้ของพนักงานการเคหะแห่งชาติมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์. (2552). ทฤษฎีการจัดการความรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บดินทร์ วิจารณ์. (2550). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2550). จัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ Knowledge Management To ExcellenceOrganization. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2565). คู่มือประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่ TRIS CORPORATION LIMITED. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.catc.or.th
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
Nonaka, I. & Takeuchi, H. (1995). The Knowledge-creating company. New York: Oxford University Press.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed). Bangkok: Bill Irwin.
Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice Hall.