คุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด 2) ระดับความผูกพันของพนักงานต่อ บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด 3) เปรียบเทียบความผูกพันของพนักงานต่อ บริษัท แคบริค(ไทยแลนด์) จำกัด จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท แคบริค(ไทยแลนด์) จำกัด เลือกตัวอย่างจำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานแบบ t- test, F-test ( One-Way ANOVA ) และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด ภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความสำคัญปานกลาง 2) ความผูกพันของพนักงานต่อ บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัดภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3) เปรียบเทียบความผูกพันของพนักงาน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระยะเวลาการทำงาน(อายุงาน) ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของพนักงาน บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด ไม่แตกต่างกัน ข้อมูลด้านระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน หน่วยงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของพนักงาน บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด แตกต่างกัน 4) คุณภาพชีวิตในการทำงาน พบว่า ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ด้านโอกาสและการพัฒนาความสามารถ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และด้านการคำนึงถึงประโยชน์และความรับผิดชอบต่อสังคม มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานบริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กวิตา บำรุงธรรม. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทบูรพาเรืองกิจ. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
กัลยา โฉมพลกรัง และเสาวลักษณ์ จิตต์น้อม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 16(2), 1-15.
ขวัญธิดา พิมพการ และคณะ. (2564). การศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อ องค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 171-183.
ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสอทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สมบูรณ์ บัวศรี. (2565). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสระบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 337-353.
หทัยรัตน์ ทัศนวงค์วรา และทองฟู ศิริวงศ์. (2566). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานบริษัท สยามอะกริ ซัพพลาย จำกัด. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 2(2), 1-16.
อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 1-15.
Steers, R.M. (1977). The origins and consequences of organizational commitment. AdministrativeScience Quarterly, 22, 46-56. Retrieved December 18, 2023, from http://dx.doi.org/10.2307/2391745
Walton, R. E. . (1974). Improving quality of work life. Harvard Business Review, 15(5), 12-16.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.