การจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนบนฐานการมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาเทศบาล ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการขยะอันตรายและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือน 2) การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนของประชาชน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนบนฐานการมีส่วนร่วม จากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 312 ครัวเรือนและผู้รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนจำนวน 13 คน จัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละและค่าเฉลี่ย สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพจะเรียบเรียงเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า การจัดการขยะอันตรายในครัวเรือน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.58 , S.D เท่ากับ 0.73) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนมีทั้ง 3 ด้านดังนี้ 1) การวางแผนค่า r = 0.54** 2) การวิเคราะห์ปัญหาค่า r = 0.53** 3) การดำเนินงานค่า r = 0.51** ซึ่งทั้ง 3 ด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง โดยได้เสนอแนะแนวทางที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานแก่ ประชาชน ในชุมชนอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนและผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการนำรูปแบบที่ได้ไปปรับใช้ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวส่งเสริมให้บุคคลมีจิตสำนึกต่อปัญหาและประโยชน์ร่วมกัน การที่บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นทำให้ขยายผลได้กว้างขึ้นจากผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและกำหนดนโยบายการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนของในชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชน ปี พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.pcd.go.th/publication/29250
พระมหานิพันธ์ ปริปุณุโณ. (2562). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2546). วิจัยธุรกิจยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรินพร ไทรทอง. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการของเสียอันตรายชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม. ใน ในรายการการวิจัย. มหาลัยศิลปากร.
อภิชาติ ใจอารีย์. (2556). สิทธิชุมชน : สิทธิตามรัฐธรรมนูฐเพื่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
Adamcova. (2017). Environmental assessment of the effects of a municipal landfill on the content and distribution of heavy metals in Tanacetum vulgare L. Retrieved May 9, 2023, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0045653517311037?via%3Dihub
Best, J. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Englewood Cliffs.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. Retrieved May 9, 2023, from https://doi.org/10.1007/BF02310555
Daniel W. W. (2010). Biostatistics : Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9th ed). New York: John Wiley & Sons.
Hinkle, D. E. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences (4 th ed). New York: Hought on Mifflin.
WHO. (2017). World Health Statistics 2017 : monitoring health for the SDGs, sustainnable development goals 2017. Retrieved May 9, 2023, from https://www.who.int/publications/i/item/9789241565486