การพัฒนาเสียงบรรยายภาพดิจิทัลบนโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายส่งเสริมความรอบรู้ ทางสุขภาพผ่านกระบวนการจินตวิศวกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเสียงบรรยายภาพดิจิทัลบนโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพผ่านกระบวนการจินตวิศวกรรม 2) ศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพหลังรับสารจากเสียงบรรยายภาพดิจิทัล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อเสียงบรรยายภาพดิจิทัล ใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยมีลักษณะเป็นแผนการศึกษาเชิงปริมาณซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ควบคู่กับศึกษาเชิงคุณภาพซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มแล้วนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้พิการทางการเห็นที่ขึ้นทะเบียนในพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 20 คน มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) เสียงบรรยายภาพดิจิทัลบนโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพผ่านกระบวนการจินตวิศวกรรม 2) แบบทดสอบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพหลังรับสารจากเสียงบรรยายภาพดิจิทัล และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับสารที่มีต่อเสียงบรรยายภาพดิจิทัล โดยมีความสอดคล้องของคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์การวิจัยไม่ต่ำกว่า 0.67 ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาเสียงบรรยายภาพดิจิทัลบนโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพผ่านกระบวนการจินตวิศวกรรม ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ จินตนาการ ศึกษาค้นคว้า ออกแบบและพัฒนา นำเสนอ ปรับปรุง และประเมินผล 2) ความรอบรู้ทางสุขภาพหลังการฟังเสียงบรรยายภาพดิจิทัลบนโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายผ่านกระบวนการจินตวิศวกรรมอยู่ในระดับมาก โดยสูงกว่าร้อยละ 80 และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อเสียงบรรยายภาพดิจิทัลบนโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพผ่านกระบวนการจินตวิศวกรรมอยู่ในระดับสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.64)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการแบ่งตามภูมิภาคของประเทศไทย 2562-2563. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2564 จาก https://dep.go.th/th/
กุลนารี เสือโรจน์. (2563). แนวคิดการศึกษาเสียงบรรยายภาพสำหรับสื่อโทรทัศน์. วารสารวารสารศาสตร์, 13(3), 188-228.
จงรัก สุวรรณรัตน์ และธณกร ปัญญาใสโสภณ. (2565). การวิจัยและพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(1), 84-93.
นฤมล อุดบุญ และนลินี ทองประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจด้านการให้บริการของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(73), 98-107.
บัญจรัตน์ สังข์น้อย และสหภาพ พ่อค้าทอง. (2560). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่มีต่อเฟซบุ๊กในฐานะสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 2(1), 34-43.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(86), 33-37.
พงศธร ปาลี และปณิตา วรรณพิรุณ. (2561). กระบวนการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรมด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงเสริมคู่แฝดในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการเสมือน. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 12(1), 17-29.
พรรณรัมภา ยิ่งเฮง และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ตามแนวคิดจินตวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารชุมชนวิจัย, 14(3), 208-221.
พรรษา โนนจุ้ย. (2564). การให้สุขศึกษา. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 36(2), 246-251.
วรรณวิศา วัฒนสินธุ์ และคณะ. (2563). เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่งกับการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(1), 69-78.
วิชาญ ปาวัน และคณะ. (2560). การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย ประจำปี 2559. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(1), 70-79.
วุฒิกนก สมแก้ว. (2563). การนำฐานข้อมูลสมรรถนะคนพิการไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(2), 257-268.
ศิริวรรณ อนันต์โท. (2564). ปัจจุบันและอนาคตของการให้บริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(3), 116-130.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2560). สภาพการแข่งขันและแนวทางการกำกับดูแลกิจการ Over-The-Top Television: OTT-TV. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2564 จาก http://202.125.84.14/data/academic/file/600900000004.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยผลการมีอุปกรณ์รับชมรายการโทรทัศน์ในครัวเรือน ปี 2561. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2564 จาก http://www.nso.go.th/sites/
สิโรดม มณีแฮด และปณิตา วรรณพิรุณ. (2562). ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 359-373.
สิโรดม มณีแฮด และพงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2566). รูปแบบการนำเสนอสื่อสำหรับคนพิการทางการได้ยินผ่านโทรทัศน์แบบสตรีมมิงขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3), 283-300.
หนึ่งหทัย ขอผลกลาง และกิตติ กันภัย. (2553). งานวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพ: กลไกในการพัฒนาสังคม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 4(1), 65-77.
เอื้อจิต สุขพูล และคณะ. (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 419-429.
Ashraf, Md, M., et al. (2017). A Systematic Literature Review of the Application of Information Communication Technology for Visually Impaired People. International Journal of Disability Management, 11(6), 1-18.
Fryer, L. (2016). Introduction to Audio Description: A Practical Guide. London: Routledge.
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078.
Zedanzaien, S. (2020). Evaluating the Social Media Usage Pattern Among the Hearing Impaired and Visually Impaired Students at University of Tabuk. The International Journal of Social Sciences and Humanities Invention, 7(3), 5840-5851.