ผลการฝึกแบบสถานีและการฝึกแบบต่อเนื่อง ที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1

Main Article Content

วัชรศักดิ์ พรมสุวรรณ
สาธิน ประจันบาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ก่อนการฝึกและหลังการฝึกของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบกรมตำรวจภูธรภาค 1 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนนายสิบตำรวจ จากนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการจับคู่สลับฟันปลา โดยกลุ่มทดลอง ฝึกด้วยโปรแกรมแบบสถานี จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมปกติ จำนวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกทั้งหมด 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ คือ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ ฉบับปรับปรุง 2561 โดยกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งหมด 8 ด้าน คือ 1) ความเร็ว 2) ความแข็งแรง 3) พลังกล้ามเนื้อ 4) ความทนทาน 5) ความคล่องแคล่วว่องไว 6) ความอ่อนตัว 7) ความอดทนของระบบหัวใจ และ 8) ระบบไหลเวียนโลหิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียววัดซ้ำ การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอโรนี และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกาย หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ดีกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มควบคุมมีสมรรถภาพทางกาย หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ดีกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีสมรรถภาพทางกาย หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมฝึกแบบสถานีและโปรแกรมแบบปกติ สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายทั้ง 8 ด้านของนักเรียนนายสิบตำรวจได้

Article Details

How to Cite
พรมสุวรรณ ว., & ประจันบาน ส. (2024). ผลการฝึกแบบสถานีและการฝึกแบบต่อเนื่อง ที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(5), 166–176. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/277099
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานประจำปี 2563 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เกรียงไกร อินทรชัย. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย สำหรับนิสิตในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับครู. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3), 41-59.

จินตนา แจ่มใส. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกในการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วทิยา” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

นฤเดช วีระสุข. (2563). ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักศึกษาชมรมกีฬาดาบไทย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย . มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี.

เฟื่องลดา บุญเลิศ. (2564). ผลของโปรแกรมการฝึกโดยใช้ยางยืดแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรัณยู อภัยพลชาญ. (2561). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนเตรียมทหาร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยลวรณัฏฐ์ จีรัชตกรณ์. (2566). สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness). เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1539

เศวตฉัตร วันนา. (2566). ผลของการฝึกโปรแกรม SAQ ที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวในนักศึกษาชายมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีที่เล่นกีฬาฟุตบอล. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ, 2(4), 42-52.

สมบัติ อ่อนศิริ. (2563). การประยุกต์ใช้หลัก FITT ในการสอนพลศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิต. วารสารสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการ, 46(2), 118-129.

American College of Sports Medicine. (2021). ACSM's guidelines for exercise testing and prescription. Wolters Kluwer: Philadelphia.