การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักสัปปุริสธรรม ของเทศบาลตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วิริยะ ณะเสน
พระครูปลัดอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักสัปปุริสธรรม และ 2) แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักสัปปุริสธรรมของเทศบาลตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกของกองทุนหมู่บ้านเทศบาลตำบลบ้านส้อง จำนวน 367 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักสัปปุริสธรรมของเทศบาลตำบลบ้านส้อง โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.19) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อัตถัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักอรรถ หรือความเป็นผู้รู้จักผล) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.30) รองลงมา คือ ธัมมัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักธรรม หรือความเป็นผู้รู้จักเหตุ) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.20) และหลักธรรมที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ หลักปุคคลปโรปรัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบุคคล) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.14) และ 2) แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักสัปปุริสธรรมของเทศบาลตำบลบ้านส้อง 1) คณะกรรมการควรมีการทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ 2) มีการวางแผนและวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการบริหารกองทุนหมู่บ้าน 3) ควรมีการประเมินขีดความสามารถของคณะกรรมการและสมาชิก และ 4) ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุนหมู่บ้านจากทุกภาคส่วน

Article Details

How to Cite
ณะเสน ว., & สุวฑฺโฒ (สุขพานิช) พ. (2024). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักสัปปุริสธรรม ของเทศบาลตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(5), 22–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/276923
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

แจ่มจันทร์ ศรีจันทร์ และปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช. (2560). การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านตำบลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไทยโพสต์. (2566). โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2566 จาก https://www.thaipost.net/main/detail/75787,26/1/2566

พระมหาสมควร ศรีสงคราม. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัปปุริสธรรมและพละธรรมกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนใต้สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิเชษฐ์ โพดาพล และปรมัตถ์ โพดาพล. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 6(2), 83-93.

วิชา อินทร์จันทร์. (2563). ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 150-170.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.). (2566). ประวัติความเป็นมา. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://www.villagefund.or.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุนทร ปัญญะพงษ์ และคณะ. (2562). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(2), 27-37.