การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัย แบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบล เขาพระอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลเขาพระ เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านมุทิตา รองลงมาคือ ด้านกรุณา ด้านเมตตาและด้านอุเบกขาตามลำดับ 2) แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลเขาพระ ผู้บริหารต้องยึดหลักพรหมวิหาร 4 มาเป็นแนวทางในบริหารงาน เพื่อควบคุมกำกับจิตใจ โดยการแสดงออกในด้านความรัก ความปรารถนาให้ทุกคนมีความสุขและให้ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่น รวมทั้งสัตว์ทั้งหลายให้ พ้นทุกข์ รวมถึงด้านจิตใจ พลอยยินดีกับคนที่เขาได้ดีมีสุข รวมถึงอาการที่แสดงออกด้วยความเที่ยงตรงเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง ด้วยรักและชังใคร ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ผู้ใดมีพรหมวิหาร 4 ผู้นั้นย่อมมีจิตใจ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2566 จาก https://www.dla.go.th/visit/plan2565.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
เทศบาลตำบลเขาพระ. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 19 เมษายน 2567 จาก https://khaopracity.go.th/detail.php?id=1698
ปุณณภา ปริเมธาชัย และคณะ. (2565). การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 199-210.
พรทิพย์ อนุพัฒน์ และคณะ. (2566). พรหมวิหาร 4: กับการบริหารงานบุคคลในองค์กร. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 9(1), 255-266.
พระประกอบ ถิรจิตฺโต. (2558). การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2547). การปกครองท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุจินต์ ธรรมชาติ. (2548). การวิจัยภาคปฏิบัติวิธีลัด. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
โสมจิราวดี จำปาสิทธิ์ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ ปริทรรศน์, 5(1), 88-101.