ผลของการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ ที่มีต่อการคิดทางเรขาคณิต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

Main Article Content

ธิดารัตน์ บุญชุม
สุณิสา สุมิรัตนะ
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบขั้นระดับการคิดทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียน 45 คน จัดคละความสามารถ การวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการคิดทางเรขาคณิต และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t - test for Dependent Samples และ t - test for One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมิเดียแบบปฏิสัมพันธ์มีการคิดทางเรขาคณิตหลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์มีระดับการคิดทางเรขาคณิตผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมิเดียแบบปฏิสัมพันธ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยวิธีการค้นพบร่วมกับสื่อมัลติมิเดียแบบปฏิสัมพันธ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

ชนิศวรา ฉัตรแก้ว. (2549). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรขาคณิตและลำดับขั้นการคิดทางเรขาคณิตตามรูปแบบแวนฮีลีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแบบพลวัตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐภณ สุเมธอธิคม. (2564). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชา การจัดแสงเพื่องานออกอากาศ ระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร: คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพดล ทุมเชื้อ. (2553). การศึกษาผลสสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง “รูปสี่เหลี่ยม” โดยการใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ที่เน้นลำดับขั้นการคิดตามรูปแบบแวนฮีลี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดลานนาบุญ จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

ยุพิน พิพิธกุล. (2554). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). กระบวนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬา.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกุล. (2560). แนวคิดและเทคนิคการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. ใน การวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.