พุทธธรรมกับการเสริมสร้างปัจจัยต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ

Main Article Content

พระครูปริยัติกาญจนกิจ .
พระครูกิตติชัยกาญจน์
พระครูกาญจนกิจโสภณ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างปัจจัยต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ โดยการนำหลักพุทธธรรมมาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีการเห็นคุณค่าตามหลักสากล โดยใช้หลักพุทธธรรม คือ หลักอริยวัฑฒิ เพราะเป็นหลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุอย่างรอบด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านปัญญา อีกทั้งยังเป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ โดยเริ่มตั้งแต่ปัจจัยขั้นพื้นฐาน เช่น การรับประทานอาหาร การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นต้น อันจะทำให้ผู้สูงอายุมีการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่เกิดจากการนำหลักพุทธปรัชญามาเป็นแนวทางในการพึ่งตนเอง และช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เห็นคุณค่าในตัวเอง ผลจากการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมกับการเสริมสร้างปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า มีแนวทางการเสริมสร้างปัจจัยเกื้อกูลแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในนั้นเป็นการพัฒนาตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเป็นกระบวนการ เริ่มด้วยการพัฒนาพฤติกรรมด้านศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า
ในตนเองด้านคุณความดี คือ การบรรลุซึ่งศีลธรรม และด้านพลังอำนาจ คือ อิทธิพลที่มีต่อชีวิตตนเองและผู้อื่น ส่วนปัจจัยภายนอกนั้น เริ่มต้นด้วยการเสริมสร้างสัมพันธภาพจากคนภายในครอบครัวและคนในสังคมทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญไม่เป็นภาระกับสังคม และยังสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองมั่นใจในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข


บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างปัจจัยต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ โดยการนำหลักพุทธธรรมมาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีการเห็นคุณค่าตามหลักสากล โดยใช้หลักพุทธธรรม คือ หลักอริยวัฑฒิ เพราะเป็นหลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุอย่างรอบด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านปัญญา อีกทั้งยังเป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ โดยเริ่มตั้งแต่ปัจจัยขั้นพื้นฐาน เช่น การรับประทานอาหาร การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นต้น อันจะทำให้ผู้สูงอายุมีการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่เกิดจากการนำหลักพุทธปรัชญามาเป็นแนวทางในการพึ่งตนเอง และช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เห็นคุณค่าในตัวเอง ผลจากการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมกับการเสริมสร้างปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า มีแนวทางการเสริมสร้างปัจจัยเกื้อกูลแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในนั้นเป็นการพัฒนาตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเป็นกระบวนการ เริ่มด้วยการพัฒนาพฤติกรรมด้านศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า
ในตนเองด้านคุณความดี คือ การบรรลุซึ่งศีลธรรม และด้านพลังอำนาจ คือ อิทธิพลที่มีต่อชีวิตตนเองและผู้อื่น ส่วนปัจจัยภายนอกนั้น เริ่มต้นด้วยการเสริมสร้างสัมพันธภาพจากคนภายในครอบครัวและคนในสังคมทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญไม่เป็นภาระกับสังคม และยังสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองมั่นใจในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2567 จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฤทัย พานิช และพรสวรรค์ มณีทอง. (2564). การเสริมสร้างสุนทรียภาพเพื่อสร้างคุณค่าในตนของผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(3), 28-38.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). ถ้าสูงอายุเป็นก็น่าเป็นผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยในมิติความต่างเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: กองสถิิติิพยากรณ์์ สำนัักงานสถิิติิแห่่งชาติิ.

Coopersmith, S. (1984). SEI: Self-Esteem Inventories. 2nd. Californai: Consulting Psychologist Press.