การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 และ
2) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 327 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างการวิจัยแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.32 - 0.82 และความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติการวิจัย คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านครูและบุคลากร ปัจจัยด้านชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา และปัจจัยด้านโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจากสมการพยากรณ์ที่ดีที่สุด พบว่า ตัวแปรปัจจัยด้านครูและบุคลากร ปัจจัยด้านชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านโรงเรียนสามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 ได้ร้อยละ 71.80 และสามารถร่วมกันทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ คือ = 0.463 + 0.315 (X2) + 0.267 (X4) + 0.174 (X3) = 0.309 (X2) + 0.264 (X4) + 0.191 (X3)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไชยา ภาวบุตร. (2565). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์ กรุ๊ป.
นฤมล เวียงวงษ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา: การสร้างทฤษฎีจากฐานราก. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , 8(16), 69-82.
พรรณวดี ปามุทา. (2559). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.
พิกุล ไชยแสน. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลการบริหารงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. ใน วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพชรรุ่ง สนั่นไทย. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิรัตน์ พงษ์มิตร. (2557). ศึกษาปัจจัยที่สงผลตอประสิทธิผลการบริหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. (2561). คู่มือมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. เรียกใช้เมื่อ 7 เมษายน 2567 จาก https://shorturl.asia/ F51C4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1. (2561). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. เรียกใช้เมื่อ 7 เมษายน 2567 จาก https://shorturl.asia/DwYjP
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อัมพวัลย์ บุปผาวัลย์. (2556). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1981). Concept and Measures for Project Implementation and Evaluation Rural Development Committee Center for International Studies. New York: Cornell University.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.