ความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Main Article Content

ฮุสนา การูมอ
จิระวัฒน์ ตันสกุล
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
บุญโรม สุวรรณพาหุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและ 2) เปรียบเทียบความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำแนกตามตัวแปรที่พักอาศัย และตัวแปรคณะที่สังกัด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (แผน ก) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างปีการศึกษา 2558 - 2563 จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
โดยการใช้แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในรูปแบบของแบบสอบถามออนไลน์ (Google form) จากนั้นมาคัดเลือกแบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (t - test) และ
การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีระดับความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.48, S.D. = 0.61) เมื่อพิจารณาแต่ตัวแปร พบว่า ตัวแปรระยะเวลาและตัวแปรระดับคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ส่วนตัวแปรการเผยแพร่อยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ที่พักอาศัยอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพักอาศัยอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ มีความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่สังกัดคณะแตกต่างกันมีความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
การูมอ ฮ., ตันสกุล จ., รอบคอบ ณ., & สุวรรณพาหุ บ. (2024). ความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(4), 108–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/275732
บท
บทความวิจัย

References

งานทะเบียนและสถิตินักศึกษา. (2564). สถิติผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2564 จาก http://regist.pn.psu.ac.th/main/stat.php.

ชลกลม สนองคุณ. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ณัฐวัฒน์ โรจนวุฒิธรรม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ . วารสารการจัดการเรียนรู้การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, 53(1), 431-440.

ดิลกรัตน์ โคตรสุมาตย์และชัญญา อภิปาลกุล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 17-27.

ทรงธรรม ธีระกุล. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ทักษิณ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมิน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทัศนศิรินทร์ สว่างบุญ และรัชนีวรรณ ตั้งภักดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 50-60.

ธิดาพร ประทุมวี. (2553). ปัจจัยความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาะดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บัณฑิตวิทยาลัย. (2556). ระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัย.

ปัณณิฐฐา มาเชค. (2565). โมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. HDR Journal, 13(1), 8-28.

วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. (2557). ปัจจัยในการสำเร็จการศึกษาล่าช้าของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ทักษิณ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมิน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.