ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน ประเภทสร้างสรรค์สื่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทสร้างสรรค์สื่อ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย การรับรู้ความเข้ากันได้ และกลุ่มอ้างอิง ที่มีต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทสร้างสรรค์สื่อ โดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคคลที่มีประสบการณ์ในการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทสร้างสรรค์สื่อในรูปแบบฟรี ทั้งเพศหญิง และเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป การวิจัยในครั้งนี้ได้เลือกทำการศึกษาเฉพาะแอปพลิเคชันแคนวา กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน โดยการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์และใช้การสุ่มตามสะดวก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน การทดสอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26 - 35 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001 - 35,000 บาท เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ กลุ่มตัวอย่างจะมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทสร้างสรรค์สื่อ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ความเข้ากันได้ และกลุ่มอ้างอิง มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทสร้างสรรค์สื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุด โดยกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลร่วมกันต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทสร้างสรรค์สื่อมากที่สุด (β = 0.625)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษณี เสือใหญ่. (2558). พฤติกรรมการใช้แอปพลิคชันไลน์ความพึงพอใจและการนำไปใช้ ประโยชน์ ของคนในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศาสตร์และนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กัญญ์วรา หิรัญพานิช. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน oneD. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศาสตร์และนวัตกรรม.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรัญธร พินิจจันทร์. (2563). การยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชั่นไทยชนะ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2561). ปัจจัยพยากรณ์ความตั้งใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(2), 258-276.
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว และคณะ. (2563). การยอมรับและพฤติกรรมการใช้เน็ตฟลิกซ์ของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 177-190.
Blackwell et al.. (1990). Consumer Behavior (6 th ed.). Chicago: Chicago Dryden Press.
Hawkins et al.,. (1998). Consumer Behavior (7th ed). Boston: McGraw-Hill, Inc.
Mowen, J. C., & Minor, M. (1998). Consumer Behavior (5th ed)Prentice-Hall. Retrieved March 20, 2566, from https://www.amazon.com/Consumer-Behavior-5th-John-Mowen/dp/0137371152