การรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

Main Article Content

สุพรรณี จันทรวรกาญจน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 2) เปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยและญาติที่มาใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 240 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.59 - 1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติ โดยการใช้ค่าสถิติการทดสอบค่าที ผลวิจัยพบว่า การรับรู้ต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาของผู้ป่วยและญาติ ส่วนใหญ่การรับรู้อยู่ในระดับมาก โดยการรับรู้ต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยร้อยละ 63.00 และญาติร้อยละ 52.50 ส่วนความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยและญาติมีความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก คือ ผู้ป่วย ร้อยละ 74.17 และญาติ ร้อยละ 73.33 เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยและญาติ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ค่า p - value = .027 ส่วนความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยและญาติ พบว่า ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
จันทรวรกาญจน์ ส. . (2024). การรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(2), 185–193. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/275182
บท
บทความวิจัย

References

เจริญ ปราบปรี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดพัทลุง. วารสารสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นาม, 2(2), 199-212.

ธุมาวดี ศรีวิชัย และคณะ. (2563). ความคาดหวังและการรับรู้ ของมารดาหลังคลอดต่อคุณภาพการให้บริการตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลอำเภอของรัฐจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(1), 35-60.

นิวัฒน์ ทรงศิลป์ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังของพระภิกษุสงฆ์ ในการใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(1), 119-130.

ประกายทิพย์ พรหมสูตร. (2564). การรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. หนองคาย: งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระใคร.

รุจิรัตน์ กอธงทอง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(3), 49-58.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2567). รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2567). ร้อยละของผู้ป่วยวิกฤต ( ณ ห้องฉุกเฉิน) ที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://ws.niems.go.th/KPI57/2557/ kpire portco nt i nue01.aspx

สุรภา ขุนทองแก้ว. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุร, 2(1), 30-41.

อัญชลี ละมัย. (2565). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของประชาชนหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินเทศบาลตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

World Health Organization. (2019). Emergency care systems for universal health coverage: ensuring timely care for the acutely ill and injured. Retrieved February 17 , 2024, from https://www.who.int/publications/i/item/emergency-care-systems-for-universal-health-coverage-ensuring-timely-care-for-the-acutely-ill-and-injured

World Health Organization. (2023). Glabal status report on road safety 2023. Retrieved February 18 , 2024, from https://www.who.int/teams/social-determinants-of-health/safety-and-mobility/global-status-report-on-road-safety-2023