การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาเยาวชนในด้านการศึกษายุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาไทยในยุคดิจิทัลเป็นการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนต้องสามารถรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สิ่งสำคัญ คือ การให้เด็กเยาวชนได้รับการพัฒนาครบทุกทักษะที่เด็กต้องใช้ในโลกอนาคตได้ เยาวชนถือเป็นรากฐานและอนาคตของชาติ การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งด้านความสามารถในการเรียนรู้และควบคู่กับคุณธรรมเป็นระบบที่สร้างศักยภาพของเยาวชนให้เกิดการบ่มเพาะคน เพื่อที่จะให้เป็นคนหรือประชากรที่ขับเคลื่อนสังคมได้ และสิ่งที่เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งอันดับแรกมากที่สุด ก็คือ “ระบบการศึกษา” จึงเกิดคำถามต่อว่าเราจะพัฒนาคนให้อยู่ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีสุขและเพิ่มทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตของยุคดิจิทัลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอยู่ดีมีสุขทั้งร่างกายและสุขภาพใจ ซึ่งในเรื่องการพัฒนาสังคมเยาวชนต้องมีความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมและต่อยอดนวัตกรรมทางการศึกษาที่ไม่มีขีดจำกัด ให้เยาวชนคนใดที่อาจตกหล่นจากการพัฒนาได้มีโอกาส ดังนั้น การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมและด้านต่าง ๆ ในอนาคตต่อไปโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อการพัฒนาการศึกษาให้ประสบความสำเร็จนั้น ตามหลักอิทธิบาทธรรมเพื่อให้การศึกษาได้เกิดการพัฒนาเยาวชนในโลกยุคดิจิทัลให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น นักเรียนควรปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ที่พระพุทธองค์ได้สดับไว้อย่างแยบคลาย ประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธัญภา แสงตันชัย. (2561). การบริหารสื่อและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร (ปิยวรากุล). (2561). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยยุคดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุง และขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พุทธทาสภิกขุ. (2537). การทำงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
ไพโรจน์ ชินศิรประภา. (2550). สนุก สุขใจ ได้ปัญญา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิไทยคม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พลับลิเคชั่นส์ จำกัด.
วิทย์ วิศทเวทย์ และเสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2544). หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). การบริหารจัดการแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 173-184.
Hogan M.J. (2005). Adolescents and media violence: Six crucial issues for practitioners. New York: Med Clin.