การสังเคราะห์เชิงอภิมานงานวิจัยการบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย และ 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับ การบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการสังเคราะห์เชิงอภิมาน ประชากรที่ใช้การศึกษา คือ งานวิจัยเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยจากฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis) ปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2563 159 เรื่อง กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ งานวิจัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย 8 เรื่อง เครื่องมือ คือ แบบสรุปการสังเคราะห์ 3 ส่วน คือ ข้อมูลพื้นฐานเนื้อหา และผลการวิจัย เก็บข้อมูลเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โดยรวมเน้นด้านการบริหารจัดการนิทรรศการถาวรมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นิทรรศการหมุนเวียน นิทรรศการกลางแจ้ง นิทรรศการเคลื่อนที่ นิทรรศการพิเศษ และอื่น ๆ ให้ความสำคัญลองลงมาจากการบริหารจัดการนิทรรศการถาวร 2) ปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 6 ด้าน คือ 2.1) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 2.2) การบริหารโดยภาคเอกชน 2.3) การบริหารพิพิธภัณฑ์แบบมีชีวิตหรือพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ 2.4) การบริหารโดยใช้หลักการตลาดและหลักการประชาสัมพันธ์ 2.5) การบริหารพิพิธภัณฑ์โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ 2.6) การบริหารพิพิธภัณฑ์โดยการให้บริการ และ 3) องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย พบว่า พิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งการบริหารออกได้ 2 แบบ คือ พิพิธภัณฑ์ของรัฐบาล/วัด และพิพิธภัณฑ์เอกชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตพล เชิดชูกิจกุล และสุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล. (2560). รูปแบบการจัดการสื่อสารพิพิธภัณฑ์อุทยานการเรียนรู้กรุงเทพมหานครที่มีผลต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 18(33), 30-42.
กุณฑิกา ชาพิมล และดีอนา คาซา. (2565). พลวัตของพิพิธภัณฑ์ไทย: ความหมายใหม่ในสถานที่เดิม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(3), 355- 370.
จิตตรา มาคะผล. (2555). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(2), 114-129.
ญาณินทร์ รักวงศ์วาน. (2554). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกับการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น. วารสารดำรงวิชาการ, 10(1), 1-24.
ฐิติพร มีศีล. (2559). พิพิธภัณฑ์กับคุณค่าด้านการศึกษาจากประสบการณ์. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชู บุญลิขิตศิริ. (2557). การออกแบบเทคโนโลยีการเรียนรู้สำหรับพิพิธภัณฑ์ THE DESIGNING OF LEARNING TECHNOLOGY FOR MUSEUMS. วารสารครุศาสตร์, 44(3), 302-314.
บุหลัน กุลวิจิตร. (2562). การจัดนิทรรศการในยุคดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(2), 303-317.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2). (2545). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 16-21. (19 ธันวาคม 2545).
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2565). พิพิธภัณฑ์/เมือง. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.matichon. co.th/article/news_3569212
ศูนย์มานุษยวิทยา. (2566). ประเภทพิพิธภัณฑ์ตามการจัดแสดง. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2566 จาก https://db.sac.or.th/museum/
สาทิสลักษณ์ ชาติเสริมศักดิ์ และคณิต เขียววิชัย. (2560). การศึกษาบทบาทพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน A Study of Roles of Wat Muang Folk Museum As a Community’s Learning Centers. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2), 231-242.
ICOM. (2010). Running a Museum: Practical Handbook. Paris: ICOM.