การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ โคมไฟหนังตะลุงสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการลวดลาย และรูปแบบของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ โคมไฟหนังตะลุงสตูล 2) ออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ โคมไฟหนังตะลุงสตูล และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาความต้องการลวดลายและรูปแบบของผลิตภัณฑ์โคมไฟ จากกลุ่มตัวอย่าง นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในโคมไฟหนังตะลุง จากกลุ่มแกะหนังตะลุง จังหวัดสตูล จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้บริโภคมีความต้องการโคมไฟลายว่าวควาย และรูปทรงเรขาคณิตมากที่สุดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำการสร้างภาพร่างโคมไฟ 3 รูปแบบ ทำการประเมินเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกโดยใช้คำถามปลายเปิด ผู้เชี่ยวชาญได้เลือกภาพร่าง รูปแบบที่ 3 เนื่องจากมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้สร้างเป็นผลิตภัณฑ์โคมไฟหนังตะลุงต้นแบบมากที่สุด สร้างผลิตภัณฑ์โคมไฟต้นแบบ นำมาประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในโคมไฟหนังตะลุง จากกลุ่มแกะหนังตะลุง จังหวัดสตูล จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ พบว่า ด้านการออกแบบผู้บริโภคมีความพึงพอใจ ในการผสมผสานลวดลายมีความเหมาะสมกับรูปทรงมากที่สุด ( = 3.94, S.D. = 0.77) ด้านประโยชน์ใช้สอย มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เหมาะสมที่จะนำไปจำหน่ายมากที่สุด (
= 4.05, S.D. = 0.78) และความพึงพอใจโดยรวม พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจระดับมาก (
= 4.01, S.D. = 0.78)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
รรณิการ์ สายเทพ และพิชญา เพิ่มไทย. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 1-11.
จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. ใน รายงานการวิจัยสนับสนุนโดยคณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณรงค์ศักดิ์ วดีศิริศักดิ์. (2555). นวัตกรรมของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดเชิงสุนทรีย์ : กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาการจัดการสื่อสารบัณฑิต. วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์. (2551). การออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร: คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ทาริกา สระทองคำ และคณะ. (2565). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในยุคอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 239-250.
นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรุฬห์ลภย์ พฤกษ์โสภ. (2566). การพัฒนารูปแบบเครื่องแต่งกายสตรีด้วยผ้าฝ้ายย้อมครามของแบรนด์ ภูครามอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. Journal of Roi Kaensarn Academ, 8(2), 286-305.
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และคณะ. (2560). การพัฒนาช่องทางการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิง นวัตกรรม. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 1-15.
พรพิมล ศักดา และบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. ใน รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
เลิศ วรแสง และคณะ. (2557). การพัฒนาเครื่องจักสานร่วมกับผ้าไหมมัดหมี่เพื่อการออกแบบโคมไฟของชุมชนบูรพา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(2), 1-20.
เสริมศรี สงเนียม และคณะ. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟไทยจากลูกปัดมโนราห์. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 1(1), 1 – 14.
อรนุตฏฐ์ สุธาคำ และตรีชฎา สมฟอง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานเชิงสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์ชุมชน กลุ่มจักสานบ้านป่างิ้ว ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 4(2), 22-38.
James, C. & Perla, R. J. (2007). Ten common misunderstandings, misconceptions, persistent myths and urban legends about Likert scales and Likert response formats and their antidotes. Journal of Social Sciences, 3(3), 106-116.
Osborn, A.F. (1963). Applied Imagination: Principles and Procedures of Creative Thinking. New York: Charles Scribner’s Sons.