การพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต

Main Article Content

เพ็ชรรัตน์ ฮีมินกูล
นิตยา ศรีมกุฎพันธ์
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์
สิริยาภรณ์ มาละอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดการเรียนรู้การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยการพัฒนาสติปัญญา ของเปียเจต์ (Piaget's Cognitive Theory) ดังนี้ 1) หลักสูตร 2) ประสบการณ์ 3) การสอน/พัฒนา และ 4) การประเมินผล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต 2) เพื่อเปรียบเทียบมุมมองการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต จำแนกตามเพศและประสบการณ์การทำงาน และ 3) เพื่อทราบข้อเสนอแนะในการพัฒนาทุนมนุษย์ตามความต้องการ ประชากรในการวิจัยการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต เป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ปีการศึกษา 2564 เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีจำนวนทั้งสิ้น 267 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ได้มาโดยการเปิดตารางของแครชซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี ดังนี้ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ การพฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิตโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบมุมมองการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) มุมมองการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน และ 3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนา ทุนมนุษย์ตามความต้องการมีแนวคิดว่าควรมีการศึกษาดูงานด้านการบริหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีการสืบค้นเพื่อนำไปสู่การวิพากษ์เพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ฮีมินกูล เ. ., ศรีมกุฎพันธ์ น. ., ภัทรกรนันท์ น. ., & มาละอินทร์ ส. . (2024). การพัฒนาทุนมนุษย์ทางการศึกษาระดับมหาบัณฑิต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(1), 94–101. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/274081
บท
บทความวิจัย

References

จินต์จุฑา จันทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรทางการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2566 จาก https://reposit ory.rmut r.ac. th/b its trea m/ha ndle/123456789/1004/fulltext_is_78.pdf?sequence=1&isAllowed=y

บัณฑิตา เพิ่มเดช. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินส่วนกลาง. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทร พจน์พานิช. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.1. เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2566 จาก https://r.search.yahoo.com/

มินตา ขวัญงาม. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์กรของ พนักงานภาคเอกชน กรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2566 จาก http://www.vl-abstract. ru.ac.th/AbstractPdf/2562-1-1_1607859057.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 (ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553). เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2566 จาก http://dspace.spu.ac.th/bitstream

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: ซีเอด็ยูเคชั่น.

Erickson, G. & McCall, M. (2012). “Using Intellectual Capital to Enhance Performance in the Hospitality Industry”. Advances in Competitiveness, 20(1), 58-66.

Likert. (1970). New Partterns of Management. New York: McGraw - Hill.

Nadle, L. (1980). Corporate Human Pesources Development. New York: Americxn For Training and Development.

Senge, P. (1990). “The Fifth Discipline: The art & practice of the learning organization,”. London: Century Business.