การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

พิพัฒน์ แก้วงจงประสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในจังหวัดอุทัยธานี โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผ่านการตรวจคัดกรองด้วยวาจาและค่าผลการตรวจเลือดอยู่ในระหว่าง 100 - 123 มก./ดล. อาศัยอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 376 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.78) 3) แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87) และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน (ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในจังหวัดอุทัยธานี อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .711, .703, .681, .663 และ .640 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .572) ดังนั้น ควรนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปใช้จัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่ให้กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นผู้ป่วยต่อไป


 

Article Details

How to Cite
แก้วงจงประสิทธิ์ พ. . (2023). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(10), 327–336. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/273034
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์โรคเบาหวาน. เรียกใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2566 จาก https://pr.moph.go.th /?url=pr/detail/2/02/181256/

ชุติมา สร้อยนาค และคณะ. (2561). การศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของมุสลิมวัยทำงาน. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 267 - 277.

ณิชารีย์ ใจคำวัง และคณะ. (2562). รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5), 802 - 814.

นลัท พรชัยวรรณาชาติ. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ชุมชน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(3), 73 - 86.

สกาวเนตร ไทรแจ่มจันทร์ และคณะ. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน(คลองถนน). วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 376 - 386.

สมฤดี บัวป้อม. (2565). ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาล เมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการทางคลินิกวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 19(37), 83 - 95.

สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี. (2566). สถิติประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง. อุทัยธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี.

สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(4), 628 - 638.

แสงวุตร พรมมหา. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงหมอเมืองบ่อแตนแขวงไชยบุรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

อภิชัย คุณีพงษ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 43(3), 102 - 107.

อมรรัตน์ ลือนาม และคณะ. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิชาการ, 23(1), 93 - 106.

อัญชลี สามงามมี และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 97 - 108.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and sick role behavior. New Jersey: Charles B. Slack.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.