ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองและการครอบครองปรปักษ์

Main Article Content

วรชน รักษ์ปวงชน
อิงครัต ดลเจิม
เกวลิน ต่อปัญญาชาญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองและการครอบครองปรปักษ์ ศึกษาหลักเกณฑ์การแย่งการครอบครองและการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายของไทยและกฎหมายต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองและการครอบครองปรปักษ์และ เสนอแนะแนวทางในการแก้ใขปรับปรุงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองและการครอบครองปรปักษ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร ซึ่งจะได้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา เอกสาร รายงานการวิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา ข้อมูลทางสื่ออิเล็กโทรนิกส์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า การครอบครองเป็นทรัพยสิทธิ ซึ่งได้มาตามเหตุการณ์ข้อเท็จจริง โดยมีทฤษฎีการให้รางวัลต่อแรงงาน ให้รางวัลผู้เพียรพยายามให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ และทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษ ลงโทษผู้ซึ่งทอดทิ้งทรัพย์สินของตน การแย่งการครอบครองและการครอบครองปรปักษ์ แม้ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็ได้รับการคุ้มครอง กรณีการแย่งการครอบครองมีปัญหาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองต้องฟ้องภายใน 1 ปีซึ่งสั้นเกินไป ทำให้เจ้าของที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองสูญเสียที่ดินไปโดยง่าย และการแย่งการครอบครองที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนได้สิทธิครอบครองไปแล้ว ควรให้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขอพิพาทต่อเนื่องต่อไปอีก สำหรับกรณีการครอบครองปรปักษ์มีปัญหาว่าแม้จะเป็นการครอบครองโดยไม่สุจริตก็ได้รับการคุ้มครอง จึงควรแก้ไขให้คุ้มครองเฉพาะผู้สุจริตเท่านั้น และควรขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้น การคุ้มครองผู้ที่ได้ทรัพย์สินมาโดยการกระทำผิด ไม่ควรได้รับการคุ้มครองควรยกเลิกเสีย

Article Details

How to Cite
รักษ์ปวงชน ว. ., ดลเจิม อ. ., & ต่อปัญญาชาญ เ. . (2024). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองและการครอบครองปรปักษ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(1), 220–227. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/272848
บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2554). หลักสุจริตและเหตุเหนือความคาดหมายในการชำระหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ประชุม โฉมฉาย. (2548). วิวัฒนาการของกฎหมายโรมัน. โครงการตำราและวารสารนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์เดือนตุลา.

ประมวล สุวรรณศร. (2541). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการบริหารทางวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพจิตร ปุญญพันธุ์. (2532). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ.

มานิตย์ จุมปา. (2554). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิกรณ์ รักษ์ปวงชน. (2560). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน PROPERTY LAW. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.

วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์. (2545). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

เสนีย์ ปราโมช ศาสตราจารย์. (2551). อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย).

Charoenpanij, S. (1974). Acquisition of Ownership of land by Prescription Comparative study between Thai Law and American Law (LL.M.). U.S.A.: Tulane University.

Lévy, J. P. & Castaldo A. (2002). Histoire du Droit Civil. Paris: Dalloz.

Rose, M. C. (1985). Possession as the Origin of Property. Chicago: The University of Chicago Law Review.