ตลาดน้ำไทรน้อย: การจัดการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

ณรงค์ อนุรักษ์
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ
ปุณรภา ประดิษฐพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตลาดน้ำไทรน้อย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตลาดน้ำไทรน้อย 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะใน
การส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในชุมชน เขตนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS หาข้อสรุปทางสถิติ ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 1.04) คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดทัศนียภาพที่สอดคล้องกับ แหล่งท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{x} = 1.60) มากที่สุดรองลงมา คือ ด้านการร่วมมือเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{x} = 1.19) ด้านที่ในชุมชนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด คือ ด้านการเสนอความคิดเห็นในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวกับกรรมการชุมชนในการประชุมประจำเดือน (gif.latex?\bar{x} = .90) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตลาดน้ำไทรน้อย ได้แก่ อายุ การศึกษา ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จากผลสรุปดังกล่าว การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจัดได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลกับการท่องเที่ยวอย่างเดียวแต่ครอบคลุม ถึงการแบ่งปันผลประโยชน์เฉพาะอย่างยิ่งด้านรายได้มาใช้เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมพัฒนาไปอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485. เรียกใช้เมื่อ 29 มิถุนายน 2556 จาก http://www.culture.go.th

กฤษณะ ถวิลวงษ์. (2559). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาโรงแรมธรรมะ (Temple stay) ของวัดภูเก็ตและชุมชนรอบวัด. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จินตนา เสมาเงิน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาตำบล ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชูเกียรติ นพเกตุ. (2553). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธนากร ทองธรรมสิริ. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พจนา สวนศรี และ สมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม (พ.ศ.2566 - 2570). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 1 (1 พฤศจิกายน 2565).

สุเมธ ทรายแก้ว. (2556). ปัจจัยที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: ศึกษากรณีโครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุดรธานี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรชัย ขวาทอง. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.):ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สาขาวิชาการจัดการพัฒนาสังคม. วิทยาลัยการปกครอง.

Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation. New York: Cornell University.

Collier and Harraway. (1997). Principler of Tourism. Auckland: Longman Paul Ltd.

Cooper, J., and others. (2005). Tourism: Principles and Practice. 3rd ed. Harlow: Pearson Education Ltd.