ความสัมพันธ์ระหว่างการผิดนัดกับตัวชี้วัดทางคลินิกของผล การดูแลผู้ป่วยเบาหวานผิดนัดในคลีนิคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

วาสนา บุณยมณี
สุพิศ กุลชัย
หทัยรัตน์ กระต่ายน้อย
บรรพรต กลิ่นสุข
วรัญญา แก้วถึง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการผิดนัดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาเป็นประจำ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการผิดนัดกับผลลัพธ์ตัวชี้วัดทางคลินิกของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านสวน ทุกคน ในช่วงเดือน ตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 จำนวน 139 ราย รวบรวมข้อมูลโดย แบบบันทึกข้อมูลที่คัดลอกจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติ ร้อยละ Chi - square test, และ 95% Confidence interval ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 139 ราย ไม่ผิดนัดร้อยละ 8.6 ผิดนัด ร้อยละ 1 - 30 ร้อยละ 38.1 ผิดนัดมากกว่าร้อยละ 30 ร้อยละ 53.2 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 69.1 ค่ามัธยฐานอายุ เท่ากับ 65 ปี พิสัยควอไทล์ เท่ากับ 13 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ร้อยละ 59 ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา
ร้อยละ 47.5 สิทธิ์การรักษาพยาบาลบัตรทองร้อยละ 83.3 และผู้ที่ผิดนัดเป็นประจำ พบว่า มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ≥ 7 ร้อยละ 78.4 ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว (DTX) ≥ 130 ร้อยละ 85.1 ค่าความดันตัวบน ≥ 130 ร้อยละ 52.7 ค่าความดันตัวล่าง ≥ 80 ร้อยละ 36.5 ระดับแอล ดี แอล คอเลสเตอรอล ≥ 100 ร้อยละ 81.1 แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ผิดนัดเป็นประจำมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1C ค่าเฉลี่ย DTX และระดับ LDL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผิดนัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ควรมีการศึกษาข้อมูลที่มีผลต่อการผิดนัดเพิ่มเติม อาจต้องมีการศึกษาไปข้างหน้าแบบ longitudinal study ต่อไป

Article Details

How to Cite
บุณยมณี ว., กุลชัย ส. ., กระต่ายน้อย ห. ., กลิ่นสุข บ. ., & แก้วถึง ว. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างการผิดนัดกับตัวชี้วัดทางคลินิกของผล การดูแลผู้ป่วยเบาหวานผิดนัดในคลีนิคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(10), 253–261. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/272410
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ. (2562). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์

คนึงนุช แจ้งพรมมา และพัทธนันท์ คงทอง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 10(19), 18 - 29.

ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก https://www.novonordisk.com.

นฤพร ไชยวงศ์. (2560). ผลการเสริมพลังอำนาจแบบกลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปทุมรัตต์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(1), 41 - 47.

ประสิทธิ์ ยืนสุข. (2562). การศึกษาสาเหตุการผิดนัดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตลาดนัดวิชาการ 2019. เรียกใช้เมื่อ12 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files.../99.pdf.

วรรณี นิธิยานันท์. (2562). ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง - อ้วน - อายุมาก’ ต้นเหตุ. เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2563 จาก https://www.hfocus.org.

วริสรา ลุวีระ และเสาวนันท์ บำเรอราช. (2562). การผิดนัดและตัวชี้วัดทางคลินิกของผลการดูแลในผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยมโรงพยาบาลศรีนครินทร์.วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 29(5), 449 - 454.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรค เบาหวาน พ.ศ. 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. (2562). คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพติดดาว (รพ.สต.ติดดาว). เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.govesite.com.

สุวรรณี สร้อยสงค์. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(2), 45 - 55

สำเริง แหยงกระโทก และรุจิรา มังคละศิริ. (2562). คู่มือการดำเนินงานศูนย์สุขภาพชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครราชสีมา: โรงพิมพ์ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสาธารณสุขนครราชสีมา.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์โรคเบาหวาน. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก https://pr.moph.go.th.