นโยบายการพัฒนากองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค การขับเคลื่อนนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 3) เป็นแนวทางกำหนดนโยบายและการพัฒนากองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนตามลำดับ คือ การศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย และวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ด้านการดำเนินนโยบายกองทุนตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การควบคุม ติดตาม ประเมินผล ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มาจากสาเหตุใหญ่ คือ ตัวนโยบายไม่มีความชัดเจนการกำหนดนโยบายที่ผู้มีส่วนได้เสียไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และบุคลากรผู้ปฏิบัติ เนื่องจากงบประมาณ บุคลากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ขาดความพร้อมและไม่เพียงพอ อีกทั้งภาระงานที่มากเกินไป และที่สำคัญ คือ การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดภูเก็ต ยังไม่ทั่วถึง การสื่อสารจากระดับนโยบายลงไปถึงพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารไปยังเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวทางกำหนดนโยบายและพัฒนากองทุน ได้แก่ การสร้างช่องทางสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มสตรีมีบทบาทการบริหารกองทุน มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีให้มีความถูกต้องชัดเจน การเปิดกรอบอัตราบรรจุบุคลากรเพิ่มเติม และการสร้างเครือข่ายสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดภูเก็ต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณฐชน วงษ์ขำ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ: กรณีศึกษากองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชน ในจังหวัด สมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นงนภัส ไพรศรี. (2558). ประสิทธิผลการนานโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นิฟาตีฮาห์ สนิ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดยะลาอย่างมีประสิทธิผล. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว). (2563). การขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(4), 211-221.
เพลินพิษ วิชัย. (2561). ปัญหาอุปสรรคและแนวทางพัฒนาการดำเนินงาน กองทุนพัฒนาบทบาท สตรี ตำบลโนนแหลมทอง อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1), 130-147.
วราวุฒิ องค์การ. (2563). ผลสำเร็จของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรณีศึกษา อำเภอ ขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. Journal of Administrative and ManagementInnovation, 8(2), 23-32.
วันทนา สุวะจันทร์. (2558). ปัญหาที่พบในการดำเนินโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(4), 53-63.
ศราวุธ สังข์วรรณะ. (2556). สภาพและปัญหาการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์. (2565). วันสตรีไทย. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2566 จาก https://www.thaiwomen.or.th/th/knowledge_women
สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). แนวทางการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผนดำเนินการและแผนใช้จ่ายงบประมาณกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
อิทธิชัย สีดา. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนานโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีผู้นานโยบายไปปฏิบัติในจังหวัด . ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.