การปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อนำไปสู่การเป็นสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมสื่อ กรณีศึกษา สถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียง2) รูปแบบของการปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียงทางด้านเนื้อหา และ 3) รูปแบบของการปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียงทางด้านการบริหารจัดการองค์การสื่อ ซึ่งนำไปสู่การเป็นสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมสื่อ กรณีศึกษาสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ทำงานในสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดนครปฐม ที่มีสิทธิในการประกอบกิจการ จำนวน 8 สถานี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากบุคลากรตำแหน่งต่าง ๆ ด้วยสัดส่วนที่เท่ากัน สถานีละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สเพียร์แมน แปลความหมายตามเกณฑ์การแบ่งช่วงคะแนนค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างสูงต่อการปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียง คือ ปัจจัยด้านนโยบายการบริหารจัดการ งบประมาณ องค์กร พฤติกรรมการรับฟังของผู้ฟังที่เปลี่ยนแปลงไปและกฎหมาย 2) รูปแบบของการปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียงทางด้านเนื้อหา คือ การปรับเพิ่ม ช่องทางใหม่ การแสดงความคิดเห็น (comment) การเข้ามาพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ การเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น Facebook Youtube Tiktok หรือการเปิด Podcast มีเนื้อหาใหม่ เนื้อหาภาพ (video content) ผ่านการถ่ายทอดสด (live) และ 3) รูปแบบของการปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียงทางด้านการบริหารจัดการองค์การสื่อของสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดนครปฐม คือ การลดจำนวนบุคลากร เพื่อลดต้นทุนการผลิต การลดทีมงานและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถทำงานได้หลากหลาย การปรับโครงสร้างองค์กร การสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด การปรับเปลี่ยนทางลงทุนเพิ่มทางเทคโนโลยี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฎฐ์ดนัย ไค่นุ่นภา และพนิดา จงสุขสมสกุล. (2563). โอกาสและความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านวิทยุระบบอนาล็อกสู่การกระจายเสียงในระบบดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 68-81.
สมสุข หินวิมาน. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในศาสตร์ความรู้ด้านสื่อสารศึกษา. วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 11(2), 8-57.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. 2562. เรียกใช้เมื่อ 22 ตุลาคม 2565 จากhttps://www.nbtc.go.th/Information/Annual Report/45173.aspx?lang=th-th
สุณิสา เมืองแก้วและธีรภัทร วรรณฤมล. (2562). การปรับตัวของวิทยุกระจายเสียงในยุคหลอมรวมสื่อ. วารสารการสื่อสารมวลชนคณะการสื่อสารมวลชลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7(1), 25-44.
สุภารักษ์ จูตระกูล. (2557). 4 SCREEN กับการแสวงหาข่าวสารในยุคหลอมรวมสื่อ. วารสารวิทยาการจัดการ.มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 9(2), 28-42.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กันยิกา ชอว์. (2562). “แร๊พข่าว” การปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียง “News Network” ในยุคดิจิทัล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(2), 309-302.
กุลวัฒน์ ทศพะรินทร์และจิรภัทร กิตติวรากูล. (2560). การปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียง ในจังหวัด เชียงใหม่ ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ.2550 - 2560). สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 23(1), 52-63.
Burnett, R. & Marshall. (2003). Web theory: An introduction. Routledge. Retrieved October 22, 2022, from www.webtheory.nu