การศึกษากับการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน: การสืบสานประเพณีลอยกระทง ของตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้นำเสนอข้อค้นพบเรื่องการศึกษากับการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน: การสืบสานประเพณีลอยกระทงของตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในการศึกษาชุมชนท้องถิ่นเป็นกระบวนการศึกษาธรรมชาติของสังคมฐานรากเพื่อทำความเข้าใจถึงธรรมชาติการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชน โดยการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านประเพณีลอยกระทงของตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในปัจจุบันตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้จะต้องดำเนินการอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ ต้องพิจารณาถึงความสมดุลของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ในการดำเนินการพัฒนาและการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และต้องส่งเสริมแนวคิดของความเป็นธรรมระหว่างหญิงกับชาย สังคมที่เป็นธรรม และสันติสุข สิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมที่หลากหลาย และการแก้ปัญหาความยากจน ในเนื้อหาบทความนี้ได้รวบรวมการสืบสานวัฒนธรรมชุมชนโดยใช้ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนาและจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน ได้แก่ 1) ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาท้องถิ่น 2) สนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้ 3) จัดการความรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับชุมชน 4) พัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 5) สนับสนุนกลุ่มองค์กรชุมชนเพื่อดำเนินการกิจกรรมสาธารณะในชุมชน ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีต้นทุนเป็นเอกลักษณ์และวิถีของความเป็นไทย ภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ ควรอนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์เพื่อให้ดำรงอยู่คู่กับสังคมไทย เป็นเครื่องบ่มเพาะชุมชนและสังคมให้ดำรงอยู่ได้อยากปกติสุข รวมทั้งให้ความสำคัญกับศักยภาพและความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อชุมชนอย่างแท้จริ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21 (Education and Community Development in the 21st Century). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนรสโตร์.
ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา: บริษัทนำศิลป์โฆษณา จำกัด.
ธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย และคณะ. (2563). การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). “ระเบิดจากข้างใน”หัวใจแห่งการพัฒนา ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล. เรียกใช้เมื่อ 2 ธันวาคม 2565 จาก https:// mgronline.com/onlinesection/detail /9590000115284
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2553). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุรพล พยอมแย้ม. (2556). จิตวิทยาในงานชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด.
องค์การบริหารส่วนตำบลเบิกไพร. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2565 จาก http://www.boegprai.go.th/site
Getzels, Jobob W. (1958). Administration as a Social Process, in A. W. Halpin. (ed) Administrative Theory in Education. New York: Macmillan.
Ontario Learning for Sustainability Partnership (OLSP). (1996). Learning for Sustainability: Essential Outcomes and Classroom Learning Strategies. Toronto: OLSP.
UNESCO. (2022). Terminology of adult education. Retrieved September 10, 2022, from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000032265.