การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ปัทมนันท์ แสนตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง งานและพลังงาน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง งานและพลังงาน 4) เพื่อเปรียบเทียบการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง งานและพลังงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้ One sample และDependent samples ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.98/75.33 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
แสนตรี ป. . (2023). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(6), 201–211. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/270354
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช . กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

งานวัดผลประเมินผล กลุ่มบริหารวิชาการ. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปการศึกษา 2562. มหาสารคาม: โรงเรียนสารคามพิทยาคม.

ธนาศวรรย์ สมไพบูลย์. (2562). การศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบแบบจำลองเป็นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏ.

ฝนทิพย์ ธนชัยสิทธิกุล. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานต่อความสามารถ ในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตนาพร ประพันธ์วิทย์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหาร โดยใช้ Model Centerod instruction Sequence (MCIS) ที่มีต่อมโนมติและการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลัทธวรรณ ศรีวิคำ. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อมโนมติ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2009. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจํากัด อรุณการพิมพ์.

Gilbert, J. K., et al. (2000). Positioning Models in Science Education and in Design and Technology Education. In J. K. Gilbert & C. J. Boulter (Eds.), Developing Models in Science . Netherlands: Kluwer Academic Publishers.

Gilbert, J.K. and S.W. Ireton. (2003). Understanding models in earth and space science. Arlington: NSTA Press.

Justi, R. S. and Gilbert, J. K. (2003). Teachers' view on the nature of models. International Journal of Science Education, 25(11), 1369-1386.

Ornek, F. (2006). Modeling-Based interactive engagement in an introductory physics course: Students' conceptions and problem solving ability. In Doctoral dissertation Ph.D. University of Purdue, USA.