การบริหารจัดการโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดมอนเตสซอรี : ความหวังการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

Main Article Content

ชญาน์นันท์ นภัทร์ถิรชาญไชย
วิโรจน์ สุรสาคร
มัณฑริกา วิฑูรชาติ
ฐิดาภรณ์ เพ็งหนู

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอองค์ประกอบการบริหารจัดการโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดมอนเตสซอรีในประเทศไทย ซึ่งการบริหารจัดการโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดมอนเตสซอรีในประเทศไทย มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภารกิจมอนเตสซอรี โดยผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ และคุณลักษณะ มีการส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมความรู้ และประสบการณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดมอนเตสซอรี 2) นโยบายการบริหารทรัพยากร และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนจัดทำแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา โดยปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมบุคลากรเข้ารับการอบรมการจัดการเรียนรู้กับสมาคมมอนเตสซอรีสากล สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง มีการบริหารงานบุคคล บริหารงานงบประมาณ วางแผน และจัดหลักสูตรโดยหลักการมอนเตสซอรีในทุกแง่มุม 3) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ โรงเรียนส่งเสริมการใช้สื่ออุปกรณ์ การจัดกิจกรรม การจัดห้องเรียน และสภาพแวดล้อมตามแนวคิดมอนเตสซอรีได้อย่างเหมาะสม 4) การสร้างขวัญและกำลังใจ โรงเรียนจัดเงินเดือน สวัสดิการ ค่าตอบแทนแก่บุคลากรได้อย่างเหมาะสม ยกย่องชมเชยครู ระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ครู และบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ 5) การบูรณาการ การวัดและประเมินผล โรงเรียนบูรณาการการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ สนับสนุนให้บุคลากรวางแผน และมีการประเมินร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือการวัดและการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และ 6) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก โรงเรียนมีการบริหารอาคารสถานที่ กำหนดนโยบายโครงสร้างการบริหารงานอย่างชัดเจน จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สอดคล้องกับ การจัดการเรียนรู้ ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดนี้ คือการบริหารจัดการเพื่อให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี ให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย

Article Details

How to Cite
นภัทร์ถิรชาญไชย ช. ., สุรสาคร ว., วิฑูรชาติ ม., & เพ็งหนู ฐ. . (2023). การบริหารจัดการโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดมอนเตสซอรี : ความหวังการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(5), 301–310. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/269229
บท
บทความวิชาการ

References

กรรณิการ์ บัทท์. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับโครงการบริหารจัดการมอนเตสซอรีในโรงเรียนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 61-68.

ชญาน์นันท์ นภัทร์ถิรชาญไชย. (2564). องค์ประกอบการบริหารจัดการโรงเรียนทางเลือก ตามแนวคิดมอนเตสซอรีในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฟุจิซากิ ทัตซึฮิโระ. (2564). บ้านมอนเตสซอรีสำหรับเด็กวัย 3 - 6 ขวบ. กรุงเทพมหานคร: แซนด์คล็อคบุ๊คส์.

สำนักบริหารงานการศึกษาภาคบังคับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยตามแนวคิดมอนเตสซอรี ในบริบท สพฐ. เล่ม 1 รู้และเข้าใจ มอนเตสซอรี : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Association Montessori Internationale : AMI. (2022). The Montessori Difference. Retrieved September 20 , 2022 , from https://montessori--ami-org.translate.goog/aboutmontessori?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=sc

Gwendolyn J Mak. (2014). Characteristics of Modern Montessori. In the degree of. Dissertation Master of Science Educational Psychology at George Mason. University of Virginia: United States.

Montessori Northwest. (2022). What is Montessori Education? Retrieved September 21 , 2022, from https://montessori-nw.org/about-montessori-ducation/#whyteachmontessori

Starling Denise DaMesia. (2018). Fidelity of Implementation of an Urban Elementary Montessori Kindergarten Program. In Dissertation for the Doctor degree to. Walden University: United States.

Wikipedia. (2566). สมาคมมอนเตสซอรีสากล. Retrieved กุมภาพันธ์ 15 , 2566, from https://hmong.in.th/ wiki/Association_Montessori_Internationale