การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ของเด็กไร้สัญชาติไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด และ 4) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 ข้อ และตอนที่ 2 แบบสอบถามคุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทย จำนวน 29 ข้อ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิที่มีสัดส่วน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 291 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) 2. คุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47) 3. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทยสามารถพยากรณ์คุณภาพการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติไทยได้ร้อยละ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ = 2.22 + 0.50X และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ y = 0.46Zx
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชญานิศก์ เปลี่ยนดี และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การบริหารงานบุคคลในรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 85-96.
ชุมศักดิ์ อินทรรักษ์. (2557). การจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับเด็กชนเผ่า โรงเรียนประถมศึกษาพื้นที่ชาย ขอบภาคเหนือ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 7-14.
เตชิตา หมีทอง และคณะ . (2564). การศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(3), 23-30.
พรศิริ ชานกัน. (2563). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศ์, 7(6), 295-308.
พิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสาบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(2), 51-57.
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ และคณะ. (2560). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 221-234.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (2565). นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก https://web.trat-edu.go.th/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยและบุตรหานแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Blank, E.B. (1991). A Model Job Description For Personnel Administrator position in North Carolina Public School System. North Carolina: at Greensboro.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5 th ed). New York : Harper.
Elina Kilpi-Jakonen. (2014). Citizenship and Educational Attainment amongst the Second Generation: An Analysis of Children of Immigrants in Finland. Journal of Ethnic and Migration Studies, 40(7), 1079-1096.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw- Hill.
Pearson, K. (1920). Notes on the History of Correlation. Biometrika Trust, 13(1), 25-45.