ปัจจัยหนุนเสริมสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา

Main Article Content

บุญวัตร ผิวขำ
ศักดิ์ดา หารเทศ

บทคัดย่อ

สันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาเกิดจากความพยายามในการศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ “สันติวัฒนธรรม” บวกกับกแนวคิดของผู้เขียนเพื่อหาบทสรุปเกี่ยวกับภาพลักษณ์และคุณลักษณะของพฤติกรรมเชิงสันติวัฒนธรรมและวิธีการสร้างปัจจัยหนุนเสริมสันติวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา พบว่า สันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา คือ “เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่อย่างมีปกติสุขของสมาชิกอันเนื่องมาจากการติดต่อสื่อสารและการดำเนินกิจกรรมเพื่อการศึกษาที่สะดวกลื่นไหลภายใต้หลักของความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรและการให้เกียรติแก่กัน ภาพลักษณ์ทั่วไปของสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาจะปรากฏลักษณะทั่วไปอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ลักษณะทางกายภาพเกี่ยวข้องกับความสะดวกสบายหรือสุขกายเรียกว่า “สันติภายนอก” และลักษณะทางจิตใจเกี่ยวข้องกับปัจจัยแห่งสันติสุขที่แท้จริง เช่น ความเมตตากรุณา จิตอาสาช่วยเหลือ การให้เกียรติแก่กัน เป็นต้น เรียกว่า “สันติสุขภายใน” ดังนั้น การสร้างปัจจัยหนุนเสริมสันติวัฒนธรรมจึงต้องทำควบคู่ไปทั้ง 2 ด้าน คือ ปัจจัยหนุเสริมสันติภายนอกโดยใช้คำบัญญัติทางพระพุทธศาสนาว่า “ปรโตโฆสะ” และปัจจัยหนุนเสริมสันติภายในเรียกว่า“โยนิโสมนสิการ” พบว่า สันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาไม่ไช่เป็นเรื่องง่ายและไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ภายในเวลาอันสั้นและต้องใช้ความพยายามบวกด้วยสติปัญญาและความมีวิสัยทัศน์ที่เฉียบแหลมของผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างปัจจัยหนุนเสริมให้เกิดผลอย่างยั่งยืน....... พบต่อไปว่า สันติวิธรรมในสถานศึกษามีประโยชน์คุณค่าหลายประการแต่ที่สำคัญ คือ ทำให้สถานศึกษามีนวัตกรรมในการสร้างสันติสุขให้เกิดแก่ผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกทำให้สถานศึกษาได้ผลิตบุคลากรที่มีทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพออกสู่สังคมโดยสามารถตอบสนองความคาดหวังของสังคมที่มีต่อสถานศึกษาได้อย่างภาคภูมิใจ

Article Details

How to Cite
ผิวขำ บ. ., & หารเทศ ศ. . (2023). ปัจจัยหนุนเสริมสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(5), 206–213. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/269189
บท
บทความวิชาการ

References

เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (2555). สันติวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสิทธิมนุษย์สยชนและสันติศึกษา.

จรัญ ภักดีธนากุล. (2556). นักกฎหมายกับ การพัฒนาระบบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2548). ความรุนแรงและสันติวัฒนธรรมในสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จาก https://prachatai.com/journal/2005/06/4261

บัณฑิกา จารุมา. (2562). วัฒนธรรมเชิงสันติสำหรับครู. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 382-396.

บุญสิน ผิวขำ. (2560). ชีวิตกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: จิตรวัฒน์.

พระครูอุทุมพรภัทรธรรม และพระครูสุธีคัมภีรญาณ. (2563). ความสัมพันธ์การขัดเกลาทางสังคมกับแนวคิดการขัดเกลาทางสังคม ในพระพุทธศาสนา. Journal of Buddhist Education and Research, 6(2), 358-369.

มาติกา โภชฌงค์ และภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกกลางคันของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2563). สันติวัฒนธรรมในสถาบันการเมือง เพื่อเสริมสร้างกระบวนการปรองดองของประเทศ กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/1013

Lewis Coser. (1956). The Function of Social Conflict. United States of America: Beyond Intractability.