โลกวัชชะกับการพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์เกี่ยวกับโลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 2) นำเสนอข้อควรพิจารณาก่อนดำเนินการติเตียนพระภิกษุ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ที่มุ่งเน้นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเอกสารในระดับปฐมภูมิ และระดับทุติยภูมิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องโลกวัชชะเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า มโนทัศน์เกี่ยวกับโลกวัชชะในพระพุทธศาสนาเถรวาท คำว่า “โลกวัชชะ” มีความหมาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 นัย กล่าวคือ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก และการกระทำที่ประชาชนติเตียน โดยความหมายตามนัยแรกพิจารณาจากกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ทางสังคมซึ่งมีการบัญญัติขึ้นอย่างชัดเจนจึงใช้ในการพิจารณาการกระทำของพระภิกษุได้โดยง่าย ในทางตรงข้าม การพิจารณาความหมายตามนัยที่สองกระทำได้ยากเนื่องจากบุคคลแต่ละคนอาจพิจารณาการกระทำหนึ่ง ๆ ของพระภิกษุแตกต่างกันโดยใช้เกณฑ์ของตน หรือกล่าวติเตียนด้วยอคติและเจตนาร้ายต่าง ๆ จึงทำให้คำติเตียนดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงใช้การติเตียนในการพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุ และพระองค์ก็ทรงให้ความสำคัญกับการติเตียนของประชาชนด้วย อีกทั้ง การวิจัยนี้ยังพบอีกว่า การติเตียนที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุอย่างแท้จริงนั้นควรประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ 1) คำติเตียนนั้นสอดคล้องกับข้อเท็จจริง 2) ผู้ติเตียนมีความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งศีลและอภิสมาจารต่าง ๆ ของพระภิกษุเป็นอย่างดี 3) ผู้ติเตียนทราบเกณฑ์พื้นฐานในการพิจารณาสมณสารูปของพระภิกษุ 4) ผู้ติเตียนมีเจตนาดีและไม่มีอคติต่อพระภิกษุ และ 5) วิธีการติเตียนที่เลือกใช้ต้องไม่ทำให้ตัวผู้ติเตียนเองเกิดบาปโทษ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจษฎา บัวบาล. (2560). โลกวัชชะ: ใครคือผู้กำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมของพระ? เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2566 จาก https://prachatai.com/journal/2017/11/73914
กิเลน ประลองเชิง. (2564). โทษของโลกวัชชะ. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2184430
คณาจารย์โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. (2550). วินัยมุข เล่ม 1 ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
ทองย้อย แสงสินชัย. (2560). บาลีวันละคำ. เรียกใช้เมื่อ 19 มกราคม 2565 จาก https://www.facebook.com/315075048690020/posts/d41d8cd9/683336935197161/
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์คำวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์). (2559). “ปัณณัตติวัชชะ และโลกวัชชะ คำที่คนไทยยัง เข้าใจผิด.”. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2565 จาก http://www.mahabunhome.com/lokavatcha.html
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สถาบันนิติธรรมาลัย. (2565). ส่วนที่ 1 โทษ (มาตรา 18-38). เรียกใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2565 จาก https://www.drthawip.com/criminalcode/1-7
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
สำนักงานราชบัณฑิต. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อบริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สุจินต์ บริหารวนเขตต์. (2562). พระช่วยน้ำท่วม คนเข้าใจผิด บวชทำไม นับถือพุทธทำไม. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.youtube.com/watch?v=YtQj5CBN8pk
Jitrarut P. (2565). โดนกดดันหนัก ‘พระ’ ตั้งวงกระดกเหล้ากับชาวบ้านในวัด ยอมสึกแล้ว หลังอ้างดื่ม ฆ่าโควิด. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2565 จาก https://ch3plus.com/news/social/ch3onlinenews/290141
Nation Online. (2565). สรุปดราม่า “พระอาจารย์แจ้” พร้อมทำความรู้จักคือใคร ? เรียกใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2565 จาก https://www.nationtv.tv/news/378877352