การบริการสาธารณะตามหลักธรรมาภิบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวการบริการสาธารณะตามหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เป็นหลักการเพื่อการอยู่ร่วมกันในบ้านเมืองและสังคมอย่างมีความสงบสุข สามารถเสริมสร้างคุณ ประสานประโยชน์และคลี่คลายปัญหาขัดแย้งโดยสันติวิธี ซึ่งในความดูแลในแต่ละพื้นที่ก็มีความเหมือนและแตกต่างกันออกไป และการจัดบริการสาธารณะเปิดโอกาสให้สังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะร่วมกับรัฐ ที่รัฐถ่ายโอนให้กิจการเพื่อสังคมดำเนินการพัฒนาการให้บริการสาธารณะ โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรือบริการที่รัฐจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อพัฒนางานบริการให้กับประชาชนในพื้นที่บริหารงานภายในองค์กรได้อย่างราบรื่น ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้รับบริการที่ดีส่งผลให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งการดำเนินงานตามแนวทางหลักธรรมาภิบาล การส่งเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานให้มีความพร้อมในการดำเนินการให้บรรลุภารกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องสนับสนุนให้มีการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ การให้บริการสาธารณะจัดการที่ดี ในทุก ๆ ด้าน เมื่อเกิดการบริหารจัดการที่ดีก็จะมีประสิทธิภาพโดยประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี บริการสาธารณะ ตามหลักธรรมาภิบาล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตั้งมั่นอยู่บนหลักการ มีความเที่ยงธรรม สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้างประโยชน์ต่อองค์กร คนที่ทำงานทุกคนได้ประโยชน์ ได้พัฒนาตัวเอง เพื่อความเจริญงอกงามแห่งชีวิตที่แท้จริงของเขา สามารถบริหารจัดการกิจกรรมหรือโครงการ ต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุผลดีมีประสิทธิภาพสูง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ และดร.,รองศาตราจารย์. (2554). ทิศทางและแนวโน้มของการบริการสาธารณะ.เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการบริการสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2543). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ประยูร กาญจนดุล. (2538). คําบรรยายกฎหมายปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระเรืองเดช โชติธมฺโม. (2562). เศรษฐกิจไทยในกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 6(2), 109-126.
สมชัย นันทาภิรัตน. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(3), 114-127.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สิริพร มณีภัณฑ์. (2538). การจัดทำบริการสาธารณะท้องถิ่นในประเทศไทย : ศึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีเทศบาลและกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทธิพร บุญส่ง. (2550). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
สุทัศนา สุทธิกุลสมบัติ. (2550). ธรรมาภิบาล (Good Governance) คืออะไร. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2556 จาก http//ipc.wikipedea.ovg/wiki
อังคนา พิมพ์ดี. (2559). การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ตามระบบประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย . มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อำนวย บุญรัตนไมตรี. (2559). การจัดทำบริการสาธารณะร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:กรณีศึกษา การจัดการขยะ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อิงฟ้า สิงห์น้อย และรัฐชาติ ทัศนัย. (2561). นโยบายสาธารณะ: การบริหารและการจัดการภาครัฐ. สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 610-623.