แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารกิจการลูกเสือวิสามัญ ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อำนาจ นพพรพิทักษ์
เริงวิชญ์ นิลโคตร
พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจการลูกเสือของผู้บริหารสถานศึกษา และครูของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี 2) หาแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารกิจการลูกเสือของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี และ 3) ประเมินแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารกิจการลูกเสือของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารกิจการลูกเสือวิสามัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านจัดตั้งกลุ่มและกองลูกเสือ ด้านบังคับบัญชาลูกเสือ ด้านจัดเรียนการสอน ด้านการเงินลูกเสือ และด้านรายงานกิจกรรมลูกเสือ อยู่ในระดับมาก 2) แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารกิจการลูกเสือวิสามัญ ได้แก่ (1) วางแผน ประกอบด้วย 1.1) สภาพปัจจุบันการบริหารกิจการ 1.2) ร่วมกำหนดแผนปฏิบัติการ 1.3) ผู้บริหารกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ (2) ปฏิบัติตามแผน ประกอบด้วย 2.1) ส่งครูเข้ารับการอบรม พัฒนา 2.2) จัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2.3) ส่งเสริมวัสดุ อุปกรณ์ 2.4) องค์ความรู้ (3) เสริมแรง ประกอบด้วย 3.1) นิเทศ ติดตาม สร้างกำลังใจ 3.2) ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด 3.3) สร้างขวัญกำลังใจ (4) สร้างเครือข่าย ประกอบด้วย 4.1) PLC 4.2) แลกเปลี่ยนบุคลากร ทรัพยากร 4.3) ทำกิจกรรมร่วมกัน และ (5) สร้างความภาคภูมิใจ ประกอบด้วย 5.1) เผยแพร่ผลงาน รายงานผล 5.2) ประเมินมาตรฐานงาน และ3) ผลการประเมินแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารกิจการลูกเสือวิสามัญ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสม ด้านความมีประโยชน์ และความเป็นไปได้

Article Details

How to Cite
นพพรพิทักษ์ อ. ., นิลโคตร เ. ., & ศิรศาตนันท์ พ. . (2023). แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารกิจการลูกเสือวิสามัญ ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 438–452. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268676
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2454. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

คณะกรรมการพัฒนากิจการลูกเสือ เนตรนารีวิสามัญ อาชีวศึกษา. (2557). แนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือวิสามัญในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ชัยวุฒิ สังข์ขาว. (2557). แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชาญชัย ชุ่มเมืองเย็น. (2555). การบริหารกิจการลูกเสือในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

พระมหาสหัส ดำคุ้ม. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 42 ก. หน้า 92 (4 มีนาคม 2551).

วิริยา ทัพวัฒนะ และคณะ. (2559). การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการดําเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดพิจิตร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 225-229.

สมมาต สังขพันธ์. (2565). การดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการลูกเสือไทย. เรียกใช้เมื่อ 9 มิถุนายน 2565 จาก https://scout.nma6.go.th/640

สัญญา โต๊ะหนู. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ของกิจกรรมลูกเสือกับการเป็นพลเมืองดีในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดเมืองพัทยา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. (2561). รายงานผลการจัดกิจกรรมลูกเสือประจำปี 2561. จันทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2565). โครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2562. เรียกใช้เมื่อ 9 มิถุนายน 2565 จาก http://bsq.vec.go.th /Portals/9/Course/20/2565/20100 /20104v4.pdf

หทัยภัทร จีนสุทธิ์ และคณะ. (2563). “รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 ในจังหวัดนนทบุรี”. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 5(1), 40-53.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). “Determining sampling size for research activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(1), 607-610.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.